우수상_02

ประเภท ผู้สำเร็จการศึกษา(เรียงความ Essay) รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2_02

YONSEI UNIVERSITY 연세대학교
RATCHANOK SITTHIBAN

การเรียนต่อเกาหลีที่เป็นดงั่ ฝัน

꿈과 같은 한국 유학

ภาษาไทย 태국어

การไปเรียนต่อต่างประเทศนั้น เป็นสิ่งที่หลายๆคนใฝ่ฝัน โดยเฉพาะการไปเรียนในมหาวิทยาลัยของเกาหลี ซึ่ง เป็น 1 ในประเทศที่มีระบบการศึกษาที่ดีที่สุด ในปี 2017 ฉันมีโอกาสได้รับทุนการศึกษาจาก Korea Foundation [KF] ไปเรียนที่มหาวิทยาลัยยอนเซ มหาวิทยาลัยชื่อดังของเกาหลี ที่แม้แต่คนเกาหลีเองก็สอบเข้าเรียนที่นี่ได้ยากมาก ทุนการศึกษานี้ ปกติคนไทยได้รับปีละไม่เกิน 2 คน ซึ่งทางองค์กรมีค่าใช้จ่ายส่วนตัวให้เดือนละ 1 ล้านวอน, ค่า ตั้งรกราก, ค่าประกันสุขภาพ, ค่าหอพักนักศึกษา และค่าเทอมจำนวน 3 เดือน หากมีผลการเรียนดี จะได้รับสิทธิ์ให้เรียน ต่อเนื่องได้ ก่อนหน้านี้ ฉันเคยได้รับทุนจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เข้าอบรมหลักสูตรการสอน ภาษาเกาหลีสำหรับชาวไทย ที่มหาวิทยาลัยภาษาต่างประเทศฮันกุก (HUFS) เป็นเวลา 4 เดือน การมาเรียนครั้งนี้จึงไม่ มีปัญหาในการปรับตัว ฉันได้เข้าเรียนในสถาบันการสอนภาษาเกาหลีที่อยู่ในศูนย์การศึกษาและวิจัยด้านภาษา ของมหาวิทยาลัยยอนเซ ที่นี่ได้รับความนิยมจากชาวต่างชาติ เทอมแรกที่ไปเรียน เป็นภาคเรียนฤดูใบไม้ผลิฤดูแห่งการเริ่มต้นใหม่ ดอกเชอร รี่บลอสซัมที่ชาวเกาหลีชื่นชอบเริ่มผลิบาน พร้อมแสงแดดอันอบอุ่น ฉันได้เพลิดเพลินกับเทศกาลดอกไม้ และเทศกาลโคม ไฟ เปรียบเสมือนแสงสว่างส่องมาหาฉัน ซึ่งกำลังจะได้เริ่มเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ในเทอมนี้ เมื่อเดินทางไปถึงหอพักนักศึกษาฯ 

학교 생활 การใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัย 
(เป็นรูปเกี่ยวกับกิจกรรม และสภาพแวดล้อมของมหาวิทยาลัย)

ก็ได้เจอกับรูมเมทชาวอังกฤษ แม้บางครั้งเราพูดคุยกันไม่ค่อยรู้เรื่อง แต่เธอก็ เป็นเพื่อนที่ดีก่อนเปิดเทอมฉันก็ได้สอบคัดห้อง ด้วยความที่ฉันเรียนจบเอกภาษาเกาหลีมาก่อน จึงสอบได้เข้าห้องเรียน ระดับ 5 เลย เพื่อนร่วมชั้นของฉันมาจากหลายหลายประเทศ ไม่ว่าจะเป็น ฮังการี อิตาลี อเมริกา ยูเครน สาธารณรัฐเช็ก อินเดีย ฯลฯ เจอกันยังไม่ถึง 2 อาทิตย์ก็มีเค้ก เซอร์ไพรส์วันเกิดฉัน เป็นเรื่องที่รื่นเริงและน่าประทับใจ ตอนเรียน หรือ แม้กระทั่งเวลาพัก อาจารย์ไม่อนุญาตให้พวกเราพูดภาษาอังกฤษ ทุกคนจึงมีความสามารถในการสื่อสารภาษาเกาหลี เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว นอกจากเรียนภาษาเกาหลีแล้ว พวกเรายังได้ฝึกโต้วาที และพูดนำเสนอบ่อยๆ ที่สนุกที่สุดคือแต่ละ คนต้องไปสุ่มสัมภาษณ์ชาวเกาหลีที่เดินอยู่ตามท้องถนน เพื่อนำข้อมูลมาทำงานวิจัยของตัวเอง ตอนแรกรู้สึกเขินอายที่จะ ถาม เพราะเป็นคนที่ไม่รู้จัก แต่ชาวเกาหลีก็ช่วยตอบคำถามให้เป็นอย่างดี เทอมที่ 2 เป็นภาคเรียนฤดูร้อน อากาศก็ร้อนพอๆกับไทย ที่เกาหลีมีเทศกาลปืนฉีดน้ำ ขณะเล่นน้ำก็มีเหล่า ศิลปินที่มีชื่อเสียงมาร้องเพลงให้ฟังด้วย เป็นเทศกาลที่สนุกสนานไม่แพ้งานสงกรานต์ไทยเลยทีเดียว ฉันคิดว่าการไป ทะเลในฤดูร้อนจะเป็นเรื่องที่เยี่ยมมาก เราจึงได้ไปเที่ยวแบ็คแพ็คที่เกาะเชจู ได้กินอาหารทะเลแสนสดใหม่ แล้วยังไปปีน เขาฮัลลาซันด้วย 

학교 생활 (학교 활동 및 학교 환경) 
การใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัย (เป็นรูปเกี่ยวกับกิจกรรม และสภาพแวดล้อมของมหาวิทยาลัย)


เป็นประสบการณ์ท่องเที่ยวที่สนุกไม่มีวันลืม เทอมนี้รูมเมทมาจากฮ่องกง เป็นคนเฟรนด์ลี่มาก เราจึง Ratchanok Sitthiban สนิทกันอย่างรวดเร็ว มีอะไรก็คอยช่วยเหลือกันตลอด การเรียนในห้องเรียนระดับ 6 ได้ทำวิทยานิพนธ์ด้วย ฉันเลือกทำ เรื่อง “คนเกาหลีปัจจุบันกับวัฒนธรรมด้านดนตรี” เพราะสังเกตเห็นว่าในสังคมเกาหลี คนจะให้ความสนใจด้านดนตรี เป็นอย่างมาก เมื่อจบเทอมเราก็ได้รับใบจบการศึกษา พวกเราใส่ชุดฮันบกไปงานจบการศึกษาด้วย นักศึกษาส่วนใหญ่เมื่อ เรียนจบระดับ 6 ก็จะกลับบ้านเกิดกันแต่ฉันตัดสินใจที่จะเรียนในระดับ 7 ต่อ เทอม 3 ภาคเรียนฤดูใบไม้ร่วง กับอากาศเย็นๆ ระหว่างทางเดินไปเรียน ก็จะเห็นใบไม้เปลี่ยนสีร่วงหล่นลงมาราว กับฉากโรแมนติกในซีรี่ย์เกาหลี 

คราวนี้ได้อาศัยกับรูมเมทชาวอเมริกันผิวสีเป็นเรื่องที่ดีเพราะฉันอยากมีเพื่อนชาวผิวสีมา นานแล้ว เธอเป็นรุ่นน้องที่น่ารัก และมีมารยาทมากๆ ส่วนเรื่องการเรียนในเทอมนี้ ห้องเรียนระดับ 7 เป็นห้องเรียน ระดับสูง ความรับผิดชอบที่มากขึ้นก็ตามมา เพราะต้องใช้เวลาในการค้นหาข้อมูลต่างๆ เพื่อรายงานข่าว รายงานการวิจัย ฝึกสอน และเขียนแผนการสอน ทุกวันหลังเลิกเรียนฉันมักไปเที่ยวชมเทศกาลมหาวิทยาลัยต่างๆอย่างสนุกสนาน เป็นการ ผ่อนคลายความเครียดจากการเรียนที่ดีที่สุด และเรายังได้ไปทัศนศึกษาที่คังวอนโด เที่ยวชมใบไม้เปลี่ยนสีที่อุทยาน แห่งชาติซอรัคซัน ฉันได้ไปเที่ยวเล่นอย่างอิสระราวกับสายลมในฤดูใบไม้ร่วง ช่างเป็นฤดูกาลที่สวยงามเหลือเกิน ฉันจึงชอบ เทอมนี้ ความหนาวเริ่มคลืบคลานเข้ามาพร้อมหิมะแรก ในเทอมที่ 4 ภาคเรียนฤดูหนาว ฉันมาจากประเทศที่ไม่มีหิมะ ขณะกำลังตื่นเต้นและรอคอยการเล่นสงครามหิมะกับพวกเพื่อนๆ ก็มีหนังสือคำสั่งจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้น พื้นฐาน ให้ฉันเข้าบรรจุเป็นข้าราขการครูสอนภาษาเกาหลีที่โรงเรียนมัธยมในไทย จึงต้องทำเรื่องยกเลิกเรียนต่อในเทอมนี้ และกลับไทยอย่างกะทันหัน โดยไม่มีทางเลือก ช่างเป็นเทอมสุดท้ายที่น่าเสียดายมาก และนั่นก็เป็นประสบการณ์เรียนที่ 

일상 생활 (여행, 문화 체험 등) 
การใช้ชีวิตประจำวัน(เป็นรูปเกี่ยวกับกิจกรรมนอกเหนือจากการเรียน เช่นการท่องเที่ยว และวัฒนธรรม)


เกาหลีของฉัน เทียบได้กับฤดูกาลทั้ง 4 ของเกาหลี การมาเรียนในครั้งนี้ ฉันมีความสุขมาก ราวกับอยู่ในความฝัน ฉันได้เรียนรู้และมีประสบการณ์ทางวัฒนธรรมอัน ดีงามของเกาหลี ตอนนี้แม้ฉันจะกลับมาไทยได้หลายปีแล้ว ก็ยังสามารถนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับจากการมา เรียนครั้งนั้นมาเผยแพร่ให้แก่ชาวไทย ที่ความสนใจเกี่ยวกับเกาหลี และมาปรับใช้ในการสอนภาษา วัฒนธรรมเกาหลี ให้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาได้ เช่น การนำรูปที่เคยถ่ายไว้ มาประกอบการอธิบาย ให้นักเรียนเห็นภาพ และสร้างแรง บันดาลใจในการเรียน จากประสบการณ์การพูดนำเสนอบ่อยๆ ตอนไปเรียนที่นั่น ก็นำมาปรับใช้ในฝึกซ้อมนักเรียน แข่งขันพูดภาษาเกาหลี จนนักรียนของฉันได้รับรางวัลเหรียญทองระดับประเทศทุกปีการศึกษา ฉันจึงอยากเชิญชวนให้ทุกคนไปเรียนที่เกาหลีกัน ดังสำนวนที่ว่า “สิบปากว่า ไม่เท่าตาเห็น” ที่เปรียบได้ว่า แม้ เราจะได้ยินหลายๆคนพูดว่าการไปเรียนที่เกาหลีนั้นดีแค่ไหน ก็เทียบไม่ได้กับการที่เราได้มีโอกาสไปดู สัมผัสด้วย ตา ตัวเองเพียงครั้งเดียว แม้แต่คนอย่างฉันที่ไม่ได้เกิดมาบนช้อนเงินช้อนทองก็สามารถไปเรียนที่เกาหลีได้โดยการขอ ทุนการศึกษา ขอเพียงเรามีใจที่แน่วแน่เท่านั้น ทุกเรื่องก็เป็นไปได้การไปเรียนต่อที่เกาหลีก็เช่นกัน              

일상 생활 (여행, 문화 체험 등) 
การใช้ชีวิตประจำวัน(เป็นรูปเกี่ยวกับกิจกรรมนอกเหนือจากการเรียน เช่นการท่องเที่ยว และวัฒนธรรม)

ภาษาเกาหลี 한국어

꿈과 같은 한국 유학


유학은 많은 사람들의 꿈이다. 
특히 한국 대학과 같은 교육제도가 아주 훌륭한 나라에서 유학하는 것은 말이다. 
2017 년에 나는 한국국제교류재단[KF]의 장학금을 받아서 한국 학생들도 입학하기 어려운 연세대학교에서 입학하게 되었다. 
이 장학금은 매년 태국인이 2 명밖에 받지 못 하고 유학 기간 동안 체재비 (월 100 만원), 입국지원금, 건강보험료, 기숙사비, 학비를 3 개월 동안 제공하며 우수한 성적을 거두면 유학 기간을 1 년까지도 연장할 수 있다. 
그 전에 나는 태국 교육부의 장학금을 받아서 한국외국어대학교에서 태국인 한국어 교사 양성 과정을 4 개월 간 이수했기에 유학 생활에 적응 문제는 없었다.
나는 연세대학교 언어연구교육원 한국어학당에서 공부하게 되었다. 
여기는 외국인 학생들이 선호하는 어학당이다. 
첫 학기는 새로운 시작을 알리는 계절, 봄 학기였다. 한국의 봄은 따뜻한 햇살과 함께 새로운 시작을 향한 봄꽃들을 피우기 시작하는 계절이었다. 
봄꽃 중 가장 인기가 많은 꽃으로 벚꽃 축제과 연등 축제를 구경했다. 
화사한 봄꽃들은 나에게 찾아온 빛과 같은 유학 생활, 새로운 것들을 배우기 시작할 때의 설렘과 같았다. 


SK 글로벌 하우스에 도착하자마자 영국인 룸메이트를 만났다. 
가끔 말이 통하지 않았지만 좋은 친구였다. 개강하기 전에 반 배치고사를 쳤는데 나는 태국에서 한국어를 전공하고 졸업했기 때문에 바로 5 급반에 합격했다. 
우리 반 친구들은 헝가리, 이탈리아, 미국, 인도, 우크라이나, 체코 등 여러 나라에서 왔다. 만난 지 2 주도 안 되었는데 나에게 생일 케익까지 준비해 줘서 즐겁고 인상적인 생일이었다. 
수업 후 쉬는 시간에도 영어를 쓸 수 없는 규칙이 있던 터라 다들 한국어 실력이 빠르게 늘었다. 한국어 공부는 물론이고 토론과 발표도 자주 했다. 
가장 재미있는 것은 연구를 위한 정보를 모아야 해서 길거리에 걸어가고 있는 한국인들에게 무작정 질문했던 것이다. 처음에 모르는 사람들이라서 말을 걸기가 어려웠지만 한국인들이 조사에 잘 응답해 줬다. 

2 학기는 여름 학기이다. 한국은 태국만큼 날씨가 덥고 물총 축제도 있다. 물놀이하면서 유명한 가수들이 라이브 노래를 불러줬는데 태국 설날 (쏭끄란)처럼 즐거운 축제였다. 
여름에 바다에 가는게 최고라고 생각해서 나는 반 친구들과 제주도까지 배낭 여행을 갔다. 
신선한 해물 요리도 먹고 한라산으로 등산도 가고 가장 기억에 남는 여행이었다. 
이번 학기 룸메이트는 홍콩에서 온 인사성이 밝은 친구였다. 우리는 빠르게 친해졌고 어떤 일이 생길 때 항상 서로 잘 도와주었다. 
6 급반 공부는 졸업 논문을 썼다. 나는 “현대 한국인과 음악문화”라는 제목으로 썼다. 한국인들이 유난히 음악을 즐겨 들어서 그렇다. 학기가 마무리돼서 우리는 한복을 입고 졸업장을 받았다. 대부분 유학생들이 6 급을 졸업하고 고향으로 돌아간다. 그렇지만 나는 7 급 반으로 연장을 결심했다.


3 학기는 쓸쓸한 날씨를 담고 있는 가을 학기이다. 
학교로 걸어가는 길에 한국 드라마 속 로맨틱한 장면처럼 나뭇잎이 떨어졌다. 
이번 학기의 룸메이트는 미국에서 온 흑인 친구였다. 나는 원래 흑인 친구를 사귀고 싶어서 너무 좋았다. 귀엽고 예의 바른 동생이었다. 7 급반은 높은 수준의 반이라 책임감도 더 커졌다. 
신문기사 발표, 주제 발표, 강의 실습, 교안 쓰기를 위해서 많은 시간을 투자했다. 
매일 수업이 끝나고 학교 축제를 즐기러 가는 게 스트레스를 푸는 최고의 방법이었다. 
강원도로 소풍을 떠났을 때 설악산에서 단풍 구경을 했다. 가을 바람처럼 자유롭게 놀 수 있는 참 아름다운 계절이라 나는 가을 학기가 좋았다.
 
첫 눈이 오고 추위가 다가온 겨울 학기인 4 학기, 눈이 내리지 않은 나라에서 온 나는 친구들과 눈 싸움을 기대중이었는데 태국 교육부에서 내가 태국 중고등학교에 취직하라는 공문이 나왔다. 
그래서 어쩔 수 없이 이번 학기 유학 연장을 취소해야 했고 태국으로 돌아가야만 했다. 무척 아쉬운 마지막 학기였다. 여기까지 나의 한국 유학 경험을 사계절에 빗대어 나타내 보았다.

유학 기간 동안 나는 정말 행복해서 꿈을 꾸고 있는 것 같았다. 
한국 유학을 통해서 나는 한국의 재미있는 문화 체험을 할 수 있었다. 
벌써 내가 태국으로 돌아온 지 몇 년이 되었지만 그때 쌓았던 지식들과 경험들을 살려 한국에 관심 있는 태국인들과 학생들에게 한국어와 문화를 알려 주고 있다. 
문화 수업 때 학생들한테 한국에서 찍었던 사진들을 보여주고 설명해서 학생들의 한국어 공부에 동기가 부여되도록 하고 있다. 
유학 시절에 발표를 많이 한 경험을 바탕으로 학생들에게 말하기 대회를 위한 연습도 시켜서 매년 태국 교육부에서 주최하는 국내대회 금메달 상장을 땄다. 
그래서 나는 한국으로 유학을 추천한다. 
“열 번 듣는 것이 한 번 보는 것만 못 하다.”라는 속담처럼 다른 사람들이 한국 유학이 좋다고 말하는 것을 듣기만 하는 것보다는 자신이 한번 직접 경험해 보는 것이 확실함을 비유적으로 이르는 말이다. 

금수저로 태어나지 않은 나와 같은 사람이라도 장학금을 받아서 한국 유학을 갈 수 있다. 

간절한 마음만 있으면 무슨 일이라도 가능하다. 

한국 유학도 마찬가지다.