우수상_03

ประเภท ผู้สำเร็จการศึกษา(เรียงความ Essay)_รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2_03

Seoul National University  서울대학교
TUANGRAT CHUTHASORN

오늘의 내가 있게 한 달콤씁쓸한 나의 한국유학생활기

ชีวิตหวานอมขมกลืนของฉันในระหว่างเรียน

ที่เกาหลีที่ทำให้ฉันเป็นฉันทุกวันนี้

ภาษาไทย태국어

ณ ช่วงปลายเดือนกันยายน อากาศร้อนที่คอยกวนใจถูกแทนที่ด้วยลมเย็น ๆ ของฤดูใบไม้ร่วงที่หวนกลับมาอีกครั้ง ฉันมองออกไปนอกหน้าต่างเพื่อชื่นชมบรรยากาศยามค่ำคืน แม้อากาศภายนอกจะหนาวเย็น แต่หัวใจของฉันกลับรู้สึกอบอุ่นเมื่อได้นึกย้อนไปถึงความทรงจำเกี่ยวกับการมาเรียนต่อที่ประเทศเกาหลี อันที่จริงฉันใช้ชีวิตในประเทศนี้ได้เป็นเวลาเกือบ 8 ปีแล้ว แต่เหตุการณ์วันแรกที่ได้มาเหยียบที่เกาหลียังคงรู้สึกเหมือนเพิ่งเกิดขึ้นเมื่อวานและมันยังคงชัดเจนอยู่ในความทรงจำ ในช่วงแรกนั้น แม้แต่ชื่อประเทศเกาหลีเองก็ยังไม่คุ้นหูนัก การไปซื้อของในร้านสะดวกซื้อที่ดูเหมือนเป็นเรื่องง่าย กลับเป็นเรื่องเครียดสำหรับฉัน แต่ในตอนนี้ ฉันสามารถพูดภาษาเกาหลีได้คล่องขึ้นแล้ว และบางทีฉันอาจจะรู้จักชื่อสถานีรถไฟใต้ดินมากกว่าคนเกาหลีบางคนเสียอีก เรื่องราวต่าง ๆ ในอดีต คงเหลือไว้เพียงแค่ความทรงจำที่หอมหวานและน่าจดจำเท่านั้น

ตั้งแต่เด็ก ฉันมีความฝันที่อยากจะไปเรียนต่อที่ต่างประเทศ เพราะฉันอยากออกจาก comfort zone ของตัวเองเพื่อตามหาความท้าทายใหม่ ๆ ให้กับชีวิต ประจวบกับช่วงก่อนเรียนจบชั้นมัธยมปลาย ฉันได้มีโอกาสได้รู้จักทุนรัฐบาลเกาหลี (KGSP)จากรุ่นพี่ จึงได้ลองสมัครโครงการนี้และโชคดีได้รับเลือกเป็น 1 ใน 3 คนของนักเรียนทุน ทำให้มีโอกาสได้สานฝันการเรียนต่อต่างประเทศของตัวเอง

대학교 첫 엠티


ค่ำคืนหนึ่งของปลายเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2013 ฉันมองดูแสงไฟที่สว่างไสวของสนามบินอินชอน พลางก้าวท้าวเหยียบแผ่นดินเกาหลีเป็นครั้งแรก ฉันได้เริ่มต้นชีวิตในฐานะนักเรียนไทยในเกาหลีใต้อย่างเป็นทางการและวาดฝันถึงอนาคตที่สดใส แต่ในความเป็นจริง สถานที่ที่แปลกตาแห่งนี้ ไม่ว่าจะเป็นอาหาร, วัฒนธรรม,อากาศ รวมทั้งภาษาที่ไม่คุ้นเคยกลับทำให้ฉันเป็นทุกข์ ถึงแม้ว่าการที่ต้องใช้ชีวิตคนเดียวในต่างแดน ห่างจากพ่อแม่ในวัยเพียง 17 ปี ทำให้ฉันเหงาและคิดถึงบ้านมากเพียงใด การมาเรียนต่อในครั้งนี้ก็ยังคงเป็นสิ่งที่น่าตื้นเต้นและท้าทายที่ฉันปรารถนาจะทำให้สำเร็จ ดังนั้นฉันจึงตัดสินใจทุ่มเทเวลาทั้งหมดไปกับการเรียนรู้ทั้งภาษาและการใช้ชีวิตในเกาหลี และผลของความมุ่งมั่นคือการที่ฉันสามารถสอบวัดระดับภาษาเกาหลี TOPIK ได้ระดับ 6 ภายใน 1 ปีของการเรียนภาษาที่สถานบันภาษามหาวิทยาลัยสตรีอีฮวา
เมื่อถึงจุดหนึ่งที่ฉันรู้สึกว่าตัวเองกลายเป็นส่วนหนึ่งของสังคมเกาหลีได้อย่างสมบูรณ์แล้ว แต่บางครั้งความรู้สึกโดดเดี่ยวและกำแพงทางภาษาที่กั้นอยู่ กลับทำให้ฉันรู้สึกท้อแท้มากเช่นกัน หลังจากเรียนจบจากสถานบันภาษาแล้ว ตัวฉันที่กำลังจะต้องก้าวเข้าไปศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี 


ยังคงเต็มไปด้วยคำถามมากมาย ‘ฉันจะปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมใหม่ได้มั้ย?’, ‘ฉันจะดูเป็นอย่างไร ในสายตาเพื่อนคนเกาหลี?’, ‘เพราะฉันเป็นคนต่างชาติ พวกเขาจะมองว่าฉันแปลกแยกมั้ย?’, ‘และฉันจะสามารถเรียนรู้เรื่องในมหาวิทยาลัยอันดับ 1 ของเกาหลีได้มั้ย?’ ความกังวลมากมายวนเวียนอยู่ในหัวของฉันไม่จบสิ้น และฉันก็ได้พบกับอุปสรรคตั้งแต่ครั้งแรกที่เข้าไปนั่งเรียนในคลาส ถึงแม้ว่าฉันจะมีภาษาเกาหลีระดับ 6 อยู่ในมือ  แต่ความเป็นจริงนั้น ฉันฟังสิ่งที่อาจารย์สอนไม่รู้เรื่องเลย ยกเว้นแค่คำว่า ‘~입니다, ~요’ ที่อยู่ท้ายประโยค
‘แย่แล้ว’ ‘ฉันจะไปเรียนรู้เรื่องได้ยังไง ในเมื่อฟังอะไรไม่เข้าใจสักอย่าง’ ‘ฉันจะสู้นักเรียนคนอื่นได้ยังไง’ ‘ทำไมฉันถึงเป็นคนไม่ได้เรื่องขนาดนี้’ ความคิดในหัวเหล่านี้ ยิ่งทำให้จิตใจของฉันห่อเหี่ยว ในขณะที่ฉันรู้สึกผิดหวังในตัวเองและจมปลักอยู่กับความกังวลกับอนาคตที่เลือนลางและไม่แน่นอน ทันใดนั้นฉันก็นึกถึงเรื่อง ‘กองฝุ่นที่ขอบหน้าต่าง’ ที่คุณครูในโรงเรียนสอนภาษาเคยเล่าให้ฟัง

“ทักษะภาษาก็เหมือนกับกองฝุ่นที่เกาะอยู่ที่ขอบหน้าต่าง เมื่อใดที่เราคิดว่ากองฝุ่นเหล่านี้ ทับถมกันจนหนาแล้ว ทันทีที่ลมพัดมา กองฝุ่นเหล่านี้ก็จะถูกพัดให้ปลิวกระจายหายไป เช่นเดียวกันการเรียนภาษา การสั่งสมทักษะภาษาไม่ใช่เรื่องง่าย เราอาจจะรู้สึกได้ว่าภาษาเกาหลีไม่พัฒนาไปไหนซักที แต่ถ้าหากเราหมั่นฝึกฝนและพยายามต่อไปเรื่อย ๆ สักวันเราก็จะสามารถเก่งภาษาเกาหลีได้เหมือนคนเกาหลีแน่นอน” 
ณ ช่วงเวลาที่ยากลำบากเช่นนี้ คำพูดของคุณครูเปรียบเสมือนแรงผลักดันที่ช่วยทำให้ฉันกล้าหาญขึ้น ฉันตัดสินใจลุกขึ้นสู้และนำมาซึ่งจุดเปลี่ยนสำคัญในชีวิต นอกจากนั้น เมื่อฉันนึกถึงการเสียสละของพ่อแม่ ความพยายามของตัวเองที่ผ่านมา และคนอีกมากมายที่ต้องการมายืนอยู่ในจุด ๆ เดียวกันกับฉันตอนนี้ ฉันจึงไม่มีสิทธิ์ที่จะยอมแพ้ และต้องฝ่าฝันอุปสรรคและอยู่รอดในมหาวิทยาลัยแห่งนี้ไปให้ได้ ไม่ว่าจะต้องแลกมาด้วยความพยายามมากกว่าคนอื่นเป็นสิบเท่า หรือร้อยเท่าก็ตาม
สิ่งที่ฉันทำเพื่อพัฒนาทักษะภาษาของตัวเอง คือการเข้าไปขออนุญาตอาจารย์ผู้สอนเพื่ออัดเสียง จากนั้นทุกวัน ๆ ฉันจะกลับมาที่หอพักเพื่อถอดเสียงและเขียนลงสมุด หากมีประโยคไหนที่ฉันฟังไม่ออก ฉันจะขอความช่วยเหลือจากเพื่อนร่วมห้องคนเกาหลี ส่วนคำศัพท์คำไหนที่ฉันไม่รู้ความหมาย ฉันก็จะเปิดหาจากพจนานุกรม ฉันเตรียมตัวล่วงหน้าด้วยการอ่านไฟล์เนื้อหาที่อาจารย์อัปโหลดไว้ให้ก่อนไปเข้าเรียนเสมอ วิธีการเหล่านี้ใช้เวลาค่อนข้างนาน แต่หลังจากระยะเวลา 2 ปีการศึกษาที่ฉันได้ฝึกฝนตนเองในลักษณะนี้ 


ฉันก็เริ่มจะรู้คำศัพท์วิชาการมากขึ้นและในที่สุดฉันก็สามารถฟังสิ่งที่อาจารย์สอนในห้องได้เข้าใจ ฉันคิดว่าฉันสามารถก้าวผ่านอุปสรรคจนมาถึงทุกวันนี้ได้เป็นเพราะตัวฉันที่ไม่ยอมแพ้ในวันนั้น 
    นอกจากนี้ หากไม่มีเพื่อน ๆ ที่คณะคอยช่วยเหลือ และหากปราศจากเสียงหัวเราะของพวกเขาที่ทำให้บรรยากาศในห้องเรียนครึกครื้น ชีวิตในเกาหลีของฉันคงไม่สนุกขนาดนี้ ถึงแม้ว่าฉันจะพูดภาษาเกาหลีไม่เก่ง พวกเขาก็เข้าใจและช่วยเหลือฉันให้ผ่านพ้นทุกความยากลำบากไปได้ หากพูดถึงเรื่องที่น่าอายที่สุดในชีวิตฉันเกี่ยวกับภาษาเกาหลี คงจะเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นระหว่างการนำเสนองานหน้าห้องครั้งแรกของฉัน เพราะความประหม่าที่ต้องพูดภาษาเกาหลีต่อหน้าคนเกาหลีจำนวนมาก ทำให้ฉันเผลอทักทายด้วยคำว่า ‘여보세요’  แทนคำว่า ‘안녕하세요’ ถึงแม้ฉันจะพูดผิด แต่เพื่อน ๆ ก็ให้กำลังใจฉัน พวกเขาส่งยิ้มให้ฉัน พลางชมว่าฉันน่ารักและพูดภาษาเกาหลีได้ดีแล้ว กำลังใจจากเพื่อน ๆ ทำให้ฉันก้าวผ่านความเขินอายและสามารถจบการนำเสนองานครั้งแรกไปได้ด้วยดี ฉันรู้สึกขอบคุณเพื่อน ๆ ทุกคน ที่คอยร่วมสร้างความทรงจำดี ๆ มากมายระหว่างการเรียนที่นี่ เหนือสิ่งอื่นใด ฉันได้เรียนรู้ถึงคำว่า มิตรภาพ อันเป็นสมบัติที่มีค่าที่จะติดตัวฉันไปตลอดชีวิต

ประสบการณ์การเรียนต่อในประเทศเกาหลีใต้ของฉัน มีทั้งเรื่องราวดี ๆ และในบางครั้งก็มาพร้อมกับความความเศร้าที่แทบทนไม่ไหว แต่อย่างไรก็ตาม ทุก ๆ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในดินแดนไกลบ้านแห่งนี้ คือกระบวนการที่ทำให้ฉันเติบโตขึ้นเป็นคนที่มีคุณภาพมากกว่าเดิม  ถึงแม้การใช้ชีวิตในเกาหลีช่วงแรกไม่ใช่เรื่องง่าย เนื่องจากภาษาเกาหลีที่ไม่แข็งแรงทำให้คะแนนการเรียนตามหลังเพื่อนคนอื่น ๆ และส่งผลให้เกิดเป็นความวิตกกังวลและความกดดัน แต่หลังจากที่ฉันทุ่มเทความพยายามไปกับการเรียนภาษาเกาหลี ทำให้ภาษาเกาหลีค่อย ๆ พัฒนาขึ้น จนในที่สุด 

2018년 나의 졸업식

ฉันก็สามารถคว้าปริญญาบัตรจากมหาวิทยาลัยแห่งชาติโซล มหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงที่สุดในเกาหลีใต้ได้สำเร็จ ช่วงเวลาแห่งการต่อสู้และเอาชนะอุปสรรคในการเรียนครั้งนี้ช่วยฝึกฝนให้ฉันกลายเป็นคนที่มีความอดทน มุ่งมั่นในการบรรลุเป้าหมายในชีวิต และเป็นโอกาสที่ทำให้ฉันได้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ขึ้น ฉันเรียนรู้ว่า ทุก ๆ ความสำเร็จมักจะเปิดโอกาสให้สิ่งดี ๆ เข้ามาในอนาคตของฉันอีกมากมาย และฉันสามารถพูดได้เต็มปากว่า ชีวิตของฉันในตอนนี้ล้วนเป็นผลผลิตของประสบการณ์ต่าง ๆ ในอดีตที่ผ่านมาทั้งสิ้น และแม้ว่าฉันจะสามารถย้อนเวลากลับไปในอดีตเพื่อแก้ไขทางเลือกที่ฉันเลือกได้ คำตอบของฉันในการเลือกมาเรียนที่ประเทศเกาหลีแห่งนี้ก็จะไม่มีวันเปลี่ยนแปลง

ภาษาเกาหลี 한국어

오늘의 내가 있게 한 
달콤씁쓸한 나의 한국유학생활기

9월말인 지금, 날 괴롭히던 무더위는 어느새 사라지고 밤에 싸늘한 바람이 불어오는 가을이 다시 왔다. 
창문 밖의 야경을 보니 쌀쌀한 날씨에도 가슴을 따뜻하게 해주는 나의 한국 유학생활 동안의 기억을 되새기게 된다. 
사실 나는 한국에서 8년이 가까운 기간 동안을 살아왔지만 신기하게도 한국에 도착했던 첫날이 왠지 엊그제만 같고 아직도 생생하다. 
처음에 한국은 나라 이름조차 생소한 곳이었으며, 편의점에서 물건을 사는 사소한 일조차 나에게는 스트레스를 받는 일이었을 정도로 모든 것이 안락함과는 거리가 멀었다. 
하지만 한국어를 편하게 구사할 수 있고 왠만한 한국사람들보다 지하철 노선을 더 잘 알게 된 현재에는, 지난 어려운 시간들이 그저 달콤하고 아련한 추억으로만 떠오르게 된다.

     나는 어릴 적부터 나의 컴포트존을 벗어나 새로운 도전을 하고자 외국에서 공부하는 꿈을 꿨다. 마침 고등학교 졸업이 다가온 무렵에 한국 정부 초청 장학 프로그램(KGSP)에 대해서 선배로부터 듣게 되었고 본 프로그램에 지원했다. 운이 좋게도 최종 3명 중 1명으로 선발되어 해외 유학의 꿈이 이루어지게 되었다.

     
  2013년 2월 말 밤늦게 인천공항의 화려한 불빛을 보며 한국에 발을 내딛고, 한국 유학 생활을 본격적으로 시작했다. 
더 밝은 나의 미래를 위해 당찬 꿈을 품고 이국 땅 한국에 왔지만 익숙하지 않은 음식, 문화, 날씨 그리고 언어와 같은 낯선 환경들이 여러모로 나를 괴롭혔다. 
또한 17살 어린 나이에 부모님과 떨어져 생활하는 것도 외로웠고 집에 대한 그리움도 컸지만 한국 유학은 나에게는 꼭 성공적으로 끝내고 싶은 흥미로운 과제였다. 그래서 이를 극복하기 위해 언어든 사회 생활이든 내가 할 수 있는 최대한의 시간을 투자하고 배우려는 마음가짐을 가졌다. 

그 결과, 대학교에 입학하기 전 이화여대 어학당에서 한국어 연수 과정을 밟으면서 1년만에 한국어 토픽 최고성적인 6급에 합격할 수 있었다. 

    
  그러나 어느 순간 완벽히 한국 사회에 녹아든 것 같다는 생각이 들다가도, 때때로 느끼게 되는 고립감과 언어의 벽은 나를 좌절하게 했다. 
언어교육원에서 대학 준비단계로 공부한 한국어 프로그램을 마치고 다음 단계인 서울대학교로 넘어왔을 때였다. 
생소한 환경에서 잘 적응할 수 있을까?, 
한국인 친구들의 눈에 내가 어떻게 보일까?, 
내가 외국인이라 이상하게 보이지 않을까?, 
대학교에서 학업을 제대로 따라 갈 수 있을까? 등등 내 머리 속에 걱정은 꼬리에 꼬리를 물었다. 
특히, 처음으로 대학교에 들어가 전공수업을 들으면서 큰 어려움을 겪게 되었다. 취득한 토픽 6급에도 불구하고 막상 첫 수업을 들어보니, 충격적이게도 문장 끝의 ‘~입니다, ~요’를 제외하면 교수님의 말을 알아듣는 것이 힘들었다.     
     '다 끝났다’. 아무것도 이해하지 못하는 상태에서 무슨 공부를 할 수 있겠어? 다른 학생들과 어떻게 경쟁할 수 있겠어? 나 이거밖에 안되는 사람인가? 하는 생각들로 마음은 무겁기만 했다. 

한동안 내 자신에게 크게 실망하고 미래에 대한 막막함과 불안함으로 침체기를 겪고 있었던 순간에 언어교육원 선생님께서 알려주신 창가에 쌓여 있는 먼지 이야기가 문득 떠올랐다.
    “외국어 실력은 창가에 쌓여 있는 먼지 같은데, 먼지가 어느 정도 쌓였다고 생각되면 창가를 통해서 바람이 불어 다 흩어져버린다. 그 정도로 언어 실력을 쌓는 것은 쉬운 일이 아니다. 
마찬가지로 한국어도 지금 실력이 늘어나는 것을 아직 많이 느끼지 못 할 수도 있으나 꾸준히 열심히 하다 보면 언젠간 모국어처럼 잘하는 날이 올 것이다’’. 
    이렇게 힘겨운 시기에 어울린 선생님의 말씀은 내가 용기를 내서 스스로 이겨보겠다는 결단의 밑거름이 되었고, 내 인생의 전환점이 되었다. 
이와 함께 나의 교육을 위한 부모님의 희생과 지금까지의 노력, 그리고 KGSP를 통해 지금 내 자리에 있고 싶어했을 수많은 다른 학생들이 떠올라 포기해서는 안된다는 생각이 들었다. 
그래서 남들보다 10배 100배의 더 노력을 하더라도 나는 어떻게든 이 대학교에서 반드시 살아남아야 하겠다고 열정적인 다짐을 하게 되었다. 

수업에 따라가기 위해 내가 했던 방법은 교수님들께 허락을 구한 뒤, 수업을 녹음하고 기숙사에 돌아와서 다시 받아쓰는 것이었다. 그리고 못 알아듣는 문장을 한국인 룸메이트에게 물어보거나 모르는 용어를 하나하나 사전에서 찾아가면서 복습했다. 더불어, 교수님께서 올려주신 해당 주 강의 파일도 수업 전에 미리 스터디해서 준비하기도 했다. 시간이 매우 오래 걸리는 방식이었지만, 이렇게 두 학기를 보내고 나니 모르던 용어들도 차차 귀에 들리기 시작하고 강의도 편하게 이해할 수 있는 수준이 되었다. 그때 포기하지 않았기 때문에 지금까지 한국에 머무를 수 있었다고 생각한다.  

    또한 한국생활에서 나를 도와주고 웃음 소리로 항상 교실의 분위기를 띄우고 밝게 해준 학과동기들이 없었다면 학교도 그리 재미있지 않았을 것이다. 학과 동기들은 내가 한국어 대화에서 실수를 많이 했어도 항상 이해해주고, 이 외국 땅에서 겪은 외로움을 극복할 수 있게 도와줬다. 
지금 생각해도 가장 창피한 실수는 내가 처음으로 전공 수업에서 발표했을 때였다. 당시에는 다른 학생들 앞에서 긴장감 때문에 ‘안녕하세요’ 대신 ‘여보세요’라고 말실수를 했다. 하지만 얼굴에 살짝 미소를 띄고 ‘귀엽다’, ‘한국말을 정말 잘한다’라고 칭찬해준 친구들의 모습을 보고 자신감이 생겨 부끄럽지 않게 대학교에서 첫 발표를 잘 마무리할 수 있었다. 
항상 나와 함께 색다른 추억들을 만들어 가는 우리 동기들에게 항상 고맙다는 생각 뿐이며, 무엇보다도 한국에서의 대학생활을 통해 우정이 세상에서 가장 소중한 무형의 자산이라는 것도 알게 되었다.

    이렇게 내가 한국에서 겪은 경험들은 좋을 때도 있었지만 때로는 견딜 수 없는 무게의 슬픔으로 다가올 때도 있었다. 하지만 이역만리 타국인 이곳에서 경험한 모든 것들은 내가 더욱 더 멋진 인재로 성장하기 위한 과정이었다. 부족한 언어 능력으로 인해 동기들에 비해 뒤쳐지는 성적과 불투명한 미래에 대한 불안함과 압박 때문에 유학 생활 초기가 쉽지 않았지만, 지속적으로 한국어 공부에 힘 쏟은 결과 나의 한국어 실력이 나날이 향상되어 꿈에도 상상하지 못했던 한국 최고 명문 서울대학교 졸업이라는 마침표를 찍을 수 있었다. 이러한 극복 과정은 내가 목표 지향적인 태도를 유지하면서, 원하는 일을 성취할 때까지 끈기 있게 집중할 수 있게 해줬고 나를 내면적으로 성숙시키는 계기였다. 

그리고 하나의 새로운 도전이 마무리될 때마다, 그것은 미래의 나에게 더 많은 기회로 다가왔다. 
나는 자신 있게 말할 수 있다. 
지금의 나를 이루는 의미 있는 삶도 그 경험들 덕분이며, 과거로 돌아가 내가 했던 선택들을 번복할 수 있다고 해도 한국으로 유학오는 길을 택했을 것이라는 내 대답에는 흔들림이 없을 것이다.