최우수상_01

ประเภท ผู้สำเร็จการศึกษา(เรียงความ Essay) รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1_01

Ewha Womans University  이화여자 대학교
SIRINAT SIRIRAT

การเรียนที่เกาหลี,ก้าวแรกที่พาไปสู่

การเปลี่ยนแปลงในชีวิตของฉัน

한국유학, 
내 인생의 변화로 이끄는 첫 걸음

ภาษาไทย 태국어

ฉันได้ทำงานที่เกี่ยวกับการใช้ภาษาเกาหลีทันทีที่สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ในปี พ.ศ. 2541 แม้ว่าสมัยเรียนมหาวิทยาลัย ฉันจะเรียนภาษาเกาหลีเป็นวิชาเอกก็จริง แต่ตอนทำงานฉันกลับรู้สึกว่าความรู้ทางด้านภาษาเกาหลีของฉันยังน้อยมาก จนทำให้ฉันคิด เรื่องจะไปศึกษาต่อที่ประเทศเกาหลีใต้อยู่เสมอ ก่อนจะได้ไปศึกษาต่อที่ประเทศเกาหลีใต้ ฉันก็เป็นพนักงานประจำคนหนึ่งที่ใช้ชีวิตเหมือนคนทั่วไป ชีวิตของฉันไม่ค่อยมีสีสันสักเท่าไหร่นัก แต่ทันทีที่เท้าของฉันเหยียบแผ่นดินเกาหลี การดำเนินชีวิตในแต่ละวันของฉันก็เปลี่ยนไป

ฉันเดินทางไปประเทศเกาหลีใต้เป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2547 โดยมีโอกาสได้รับทุนจากมูลนิธิเกาหลี (The Korea Foundation) ไปเรียนภาษาเกาหลีเป็นเวลา 1 ปีที่สถาบันสอนภาษาเกาหลี มหาวิทยาลัยยอนเซ ณ ตอนนั้น ยังไม่ค่อยมีนักเรียนไทยในประเทศเกาหลีใต้ สักเท่าไหร่นัก เพื่อนของฉันส่วนใหญ่เป็นชาวต่างชาติ ชาวเกาหลีเองก็ยังไม่ค่อยใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารเท่าทุกวันนี้ ทำให้ฉันต้องใช้ภาษาเกาหลีในการติดต่อสื่อสารขณะใช้ชีวิตอยู่ที่ประเทศเกาหลีใต้เสียเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งต้องยอมรับเลยว่าความรู้ภาษาเกาหลี ที่ติดตัวฉันมามันเท่าหางอึ่งจริง ๆ เพราะฉันสามารถสื่อสารกับคุณป้าเจ้าของบ้านเช่าด้วยประโยคภาษาเกาหลีเบื้องต้นเท่านั้น และถึงแม้ฉันจะพูดสื่อสารได้เพียงแค่นั้น แต่ก็ยังได้รับคำชมในเชิงให้กำลังใจว่า “พูดภาษาเกาหลีเก่งจัง” แม้จะรู้สึกกระดากใจและเขิน เมื่อได้ยินคำชมเช่นนั้น แต่มันก็เป็นกำลังใจให้ฉันตั้งใจที่จะพัฒนาทักษะภาษาเกาหลีอย่างจริงจังขึ้น ซึ่งการพัฒนาทักษะทางภาษาเกาหลีของฉัน ไม่ได้จำกัดอยู่ภายในห้องเรียนเพียงอย่างเดียว

연세어학당 6급 졸업식

แต่สถานที่ทุกแห่งหนในประเทศเกาหลีใต้ไม่ว่าจะเป็นที่ร้านขายของชำที่ร้านอาหาร ซูเปอร์มาร์เก็ตหรือแม้แต่ในรถไฟใต้ดินก็ล้วนเป็นห้องเรียนภาษาเกาหลีอันทรงคุณค่าของฉันทั้งสิ้นหลังเลิกเรียนฉันมักจะออกไปเที่ยวชมสถานที่ต่าง ๆ เพื่อเรียนรู้วัฒนธรรม และฟังคนเกาหลีสนทนากันเสียงสนทนาของชาวเกาหลีที่พูดด้วยความเร็วปกติ นับเป็นการฝึกการฟังภาษาเกาหลีที่ดีสำหรับฉันเลยทีเดียวฉันเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ที่ทางทุนจัดให้อย่างสม่ำเสมอแม้อากาศอันเหน็บหนาวในช่วงหน้าหนาวจะเป็นอุปสรรคต่อจิตใจบ้าง 
แต่ความคิดที่ว่าไม่รู้ว่าในชีวิตนี้จะมีโอกาสได้เข้าร่วมกิจกรรมอันทรงเกียรติเช่นนี้อีกเมื่อไหร่ ยิ่งทำให้ฉันไม่อาจลังเลใจต่อการเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ จนได้รับรางวัล “Outstanding Job” จากทางมูลนิธิเกาหลี เป็นอีกหนึ่งกำลังใจในการเรียนภาษาเกาหลีของฉันต่อไปในวันสำคัญ ๆ ของประเทศเกาหลีใต้ เช่น วันภาษาเกาหลีแห่งชาติ ตามมหาวิทยาลัยและหน่วยงานต่าง ๆ จะร่วมกันจัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อรำลึกถึงวันสำคัญ และในงานจะมีการประกวดแข่งขันเพื่อให้ชาวต่างชาติได้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกับชาวเกาหลีด้วย ฉันชื่นชอบกิจกรรมเหล่านี้มากการได้เข้าร่วมในกิจกรรมเหล่านี้กับเพื่อน ๆ ช่วยคลายความคิดถึงบ้านไปได้เป็นอย่างดี และนอกจากจะได้สนุกเพลิดเพลินกับกิจกรรมต่าง ๆ แล้ว บางครั้งยังได้รับรางวัลติดไม้ติดมือกลับไปเป็นที่ระลึกด้วยเช่นกัน จนถึงตอนนี้ฉันยังเก็บของที่ระลึกที่ได้รับจากการเข้าร่วมกิจกรรมในวันสำคัญต่าง ๆ ตอนที่เรียนอยู่ที่ประเทศเกาหลีใต้ไว้อย่างดี 

석사 졸업식

ฉันชอบการให้ความสำคัญกับวันต่าง ๆ ของประเทศเกาหลีใต้มาก ไม่ว่าจะเป็นวันหยุดทางราชการอย่างวันปีใหม่ วันเด็ก วันสถาปนาชาติเกาหลี  วันรำลึกวีรชน หรือจะเป็นวันสำคัญแต่ไม่ได้เป็นวันหยุดอย่าง วันกินไก่ตุ๋นโสม วันต่าง ๆ สำหรับคู่รัก หรือวันที่รณรงค์ให้ใช้รถสาธารณะ ฉันเห็นความพร้อมใจ และความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในการร่วมกันสืบสานวัฒนธรรมในวันสำคัญเหล่านี้ โดยเฉพาะวันครู ฉันรู้สึกดีที่คนเกาหลีให้ความเคารพครูและผู้อาวุโส ระหว่างที่ฉันเรียนอยู่ที่ประเทศเกาหลี ฉันได้พบเห็นชาวเกาหลีปฏิบัติต่อครูบาอาจารย์ และผู้อาวุโสด้วยความเคารพแล้วรู้สึกประทับใจมาก แม้ว่าแนวคิดนี้จะมีความคล้ายคลึงกับประเทศไทย แต่คนเกาหลีใต้แสดงให้เห็นว่าไม่ใช่ เพียงการระลึกถึงภายในใจเท่านั้น แต่การลงมือปฏิบัติให้เห็นจริงเป็นสิ่งที่สำคัญ ระยะเวลา 1 ปีที่ประเทศเกาหลีใต้ ช่วยกระตุ้นให้ฉันดำเนินชีวิต อย่างจริงจังมากขึ้น ฉันก้าวเท้าเร็วขึ้นกว่าเก่า และทุกก้าวที่ฉันก้าวไปเต็มไปด้วยความสนุกและความตื่นเต้น


ฉันได้รับโอกาสให้เดินทางมาเรียนต่อที่ประเทศเกาหลีใต้อีกครั้งในระดับปริญญาโทด้วยทุน Ewha Global Partnership Program (EGPP)  ของมหาวิทยาลัยสตรีอีฮวาในปี พ.ศ. 2549 และได้รับทุนของ POSCO TJ Park Foundation สนับสนุนให้ศึกษาต่อในระดับปริญญาเอกในปี พ.ศ. 2552 นอกเหนือจากทางหน่วยงานที่มอบทุนการศึกษา และคณาจารย์ในภาควิชาที่พิจารณาให้ทุนฉันแล้ว ฉันต้องขอบคุณรุ่นพี่นักเรียนทุนชาวไทย เป็นอย่างยิ่ง ที่เป็นแบบอย่างที่ดีของนักเรียนทุนชาวไทย ทำให้ภาพลักษณ์ของนักเรียนทุนชาวไทยในสายตาของชาวเกาหลีอยู่ในระดับที่ดี จนมีโควต้าสนับสนุนทุนการศึกษาให้นักเรียนไทยอย่างต่อเนื่องทุกปี ฉันรู้ว่าการเรียนระดับบัณฑิตศึกษายากมาก แต่ตั้งใจจะทำทุกอย่างให้ดีที่สุด เพื่อรักษาโอกาสให้แก่รุ่นน้องชาวไทยรุ่นต่อไปด้วย

EGPP 친구들과 청와대 방문 기념

การเรียนในระดับบัณฑิตศึกษาไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับฉันเลย เนื้อหาที่เรียนก็ลึกซึ้งและซับซ้อนมาก ทำให้ฉันใช้เวลาในการปรับตัวในการเรียน อยู่พักใหญ่ แม้แต่ช่วงปิดเทอม เพื่อน ๆ ก็ยังนัดกันติวและเรียนเพิ่มเติมกันเอง ทำให้ฉันยิ่งสัมผัสได้ถึงพลังความทุ่มเทอันยิ่งใหญ่ทางการศึกษา ของชาวเกาหลี ชีวิตส่วนใหญ่ของฉันอยู่ในห้องเรียน ห้องสมุด และหอพัก แม้ด้านหน้ามหาวิทยาลัยจะมีร้านค้ามากมาย แต่ฉันแทบจะไม่ได้ ออกไปเดินเล่นเพื่อศึกษาวิถีชีวิตของชาวเกาหลีใต้เหมือนเมื่อก่อน ฉันรู้สึกท้อถอย โดยเฉพาะตอนเขียนวิทยานิพนธ์ มีหลายครั้งที่หมดกำลังใจ มีความคิดที่จะเลิกเรียนอยู่บ่อยครั้ง แต่ทุกครั้งก็ได้กำลังใจจากอาจารย์ที่ปรึกษา เพื่อน ๆ เจ้าหน้าที่ที่ดูแลนักเรียนทุนที่ให้คำปรึกษา และให้ความช่วยเหลือทั้งในเรื่องเรียนและการใช้ชีวิตในฐานะของนักเรียนต่างชาติ ทำให้ฉันฮึดสู้ใหม่ได้อีกครั้ง การเป็นนักเรียนทุนเกาหลีไม่เพียงแค่ ให้ความรู้แก่ฉันเท่านั้น แต่การเรียนที่ประเทศเกาหลีใต้ยังมอบมิตรภาพที่ดี ช่วยบ่มเพาะให้ฉันเป็นคนมีวินัย ใฝ่รู้ มีความละเอียด รอบคอบ ใช้ชีวิตอย่างระมัดระวังและมีเป้าหมายในชีวิตที่ชัดเจนขึ้น

한국학과 교수님들, 박사과정 선생님들과 
함께 아침 등산 

อีกหนึ่งโอกาสอันทรงเกียรติที่ฉันได้รับในฐานะของนักเรียนทุนที่ฉันประทับใจไม่รู้ลืม คือการที่มีโอกาสได้ไปเยือนทำเนียบประธานาธิบดี เกาหลีใต้ (Blue House) กับเพื่อน ๆ ชาวต่างชาติที่ได้รับทุนมาด้วยกัน ตอนนั้นฉันรู้สึกทั้งตื่นเต้นและภูมิใจมากที่ได้เป็นหนึ่งในนักเรียนทุนเกาหลี และแม้จะสำเร็จการศึกษาและเดินทางกลับมายังประเทศไทยแล้ว การเป็นนักเรียนทุนเกาหลีก็ใช่ว่าจะสิ้นสุดลง เพราะยังคงมีสัมพันธภาพที่ดี มีการติดต่อสื่อสารกันอย่างต่อเนื่องกับทางมหาวิทยาลัยและจากหน่วยงานที่เคยสนับสนุนทุนการศึกษาอย่างสม่ำเสมอ ยิ่งตอกย้ำ ในความรู้สึกชัดเจนยิ่งขึ้นกว่า ฉันคือนักเรียนคนหนึ่งที่เคยได้รับทุนไปศึกษาต่อที่ประเทศเกาหลีใต้
สมัยที่ฉันได้ทุนไปเกาหลี จำได้ว่าจำนวนทุนรัฐบาลเกาหลีที่มอบให้คนไทยมีไม่มาก ปีหนึ่งมีเพียง 1-2 คนเท่านั้น และมีการคัดเลือกผู้สมัครทุนที่ค่อนข้างเข้มข้นมาก ปัจจุบันนี้มีคนไทยจำนวนมากให้ความสนใจในการเรียนภาษาเกาหลี และสนใจไปศึกษาต่อที่ประเทศเกาหลีใต้มากขึ้น จำนวนทุนที่เปิดโอกาสเพื่อเด็กไทยก็มากขึ้น แต่การแข่งขันก็สูงขึ้นด้วยเช่นกัน การได้รับทุนการศึกษานับเป็นโอกาสที่ดีมาก ๆ สำหรับผู้ที่ต้องการต่อยอดทางการศึกษาในประเทศที่มีระบบการจัดการทางการศึกษาดีมาก อย่างประเทศเกาหลีใต้ จึงอยากฝากให้น้อง ๆ ทุกคนที่สนใจสมัครทุนเตรียมตัว และเตรียมใจให้พร้อมอยู่เสมอ พัฒนาทักษะและความสามารถของตนเองอยู่ตลอดเวลา และถึงแม้จะสนใจศึกษาต่อในสาขาที่ไม่เกี่ยวข้องกับภาษาเกาหลีก็ตาม ก็ควรเตรียมความพร้อมทางด้านภาษาเกาหลีและศึกษาวัฒนธรรมเกาหลีเผื่อไว้ด้วย เพื่อจะได้นำไปปรับใช้ในการดำเนินชีวิตที่ประเทศเกาหลีใต้ได้ และหากได้รับโอกาสให้ได้รับทุนการศึกษาเป็นนักเรียนทุนเกาหลีแล้ว แม้ว่าระหว่างทางจะต้องประสบกับความยากลำบากแค่ไหน ก็จะต้องไม่ลืมว่าจุดประสงค์ และความตั้งใจแรกในการสมัครทุนเพื่อเรียนต่อที่ประเทศเกาหลีใต้คืออะไร และพยายามฝ่าฟันเพื่อไปให้ถึงฝันให้ได้ อย่าทิ้งจุดหมายไว้กลางทางนะคะ

EGPP 장학생과 함께하는 총장초청 만찬: 
졸업생 대표 발표
cr. https://www.facebook.com/Ewha-Global-Partnership-ProgramEGPP

สุดท้ายนี้ ฉันขอขอบพระคุณหน่วยงานและองค์กรที่สนับสนุนทุนการศึกษาระหว่างที่ฉันศึกษาต่อที่ประเทศเกาหลีใต้ ทุนการศึกษาที่ฉันได้รับ ช่วยให้ฉันได้มีโอกาสพัฒนาศักยภาพทางการศึกษาของตัวเองอย่างเต็มที่โดยไม่ต้องเป็นกังวลเรื่องค่าเทอม หรือค่าใช้จ่ายในการดำเนินชีวิต ขอบพระคุณในสิ่งอำนวยความสะดวกทางการศึกษาที่ทางมหาวิทยาลัยจัดหาให้อย่างดี ระหว่างที่เรียนอยู่ที่ประเทศเกาหลีใต้ ขอบพระคุณอาจารย์ที่ประสิทธิประสาทวิชาให้โดยไม่หวงความรู้ เป็นห่วงเป็นใย และคอยให้การสนับสนุนแก่ฉันในทุก ๆ อย่าง ทุกครั้งที่ได้ยินอาจารย์และเพื่อน ๆ เรียกฉันว่า “อูรี สิรินาถ” ฉันรู้สึกว่าตัวเองเป็นส่วนหนึ่งของประเทศเกาหลีจริง ๆ และไม่ว่าเวลาจะผ่านไปเนิ่นนานแค่ไหน ฉันยังคงจดจำความรู้สึกแรกที่เดินทางไปถึงแผ่นดินเกาหลีใต้ได้ และสัญญาว่าจะทำหน้าที่เป็นบุคลากรทางการศึกษาที่ดี เพื่อตอบแทนที่ได้รับโอกาสอันยิ่งใหญ่มาโดยตลอดค่ะ

ภาษาเกาหลี 한국어

한국유학, 
내 인생의 변화로 이끄는 첫 걸음

나는 1998년에 태국 내 쏭클라대학교를 졸업하였고 바로 한국어와 관련된 일을 하게 되었다. 
대학교를 다녔을 때는 한국어를 부전공으로 공부하였지만 근무할 때는 한국어에 대한 가방 끈이 짧다는 생각만 들어 언제나 한국 유학의 꿈을 마음 속에 품고 있었다. 

한국 유학을 가기 전에 나는 한 명의 평범한 직장인과 다르지 않았다. 그러나 한국 땅을 밟자마자 매일 다람쥐 쳇바퀴 돌듯 반복되고 흘러가는 내 인생의 변화가 시작되었다고 할 수 있다.

   나는 2004년에 한국국제교류재단의 한국어 펠로십 장학금으로 연세대학교 한국어학당에서 1년 동안 한국어를 공부할 기회를 받아, 인생에서 처음으로 한국을 방문하였다. 그 때 당시에 한국은 태국인 유학생이 많지 않았고 나의 친구들 대부분은 외국인이었다. 또한 그때는 한국인들이 현재처럼 영어를 널리 사용하지 않아  한국 생활했을 때 주로 한국어로 의사소통을 주고 받는 경향이 더 많았다. 그러나 나의 한국어 지식은 쥐꼬리처럼 아주 적고 부족했다는 것이었다. 하숙집 주인 아주머니와 대화할 수 있는 내용은 한국어 기본 표현 정도였다. 한국어가 많이 서투렀는데도 불구하고 나와 대화하는 한국인들은 한국어가 잘했다고 칭찬을 해 주었다. 그 격려를 듣고 부끄러웠지만 한국어 능력을 반드시 향상시키도록 동기화시키는 계기가 되었다. 
나의 한국어 실력을 신장시키는 데 돕는 것은 학교 교실에만 국한되지 않았고 과일 가게에서나 식당, 마트 등 곳곳에서도 한국어를 배울 수 있는 훌륭한 한국어 교실이 되었다. 평소에는 수업이 끝나고 한국 문화를 즐기러 이곳저곳을 많이 돌아다니곤 했다. 밖에 나가면 한국인들이 보통의 속도로 말하는 일반적인 대화를 엿들을 수 있고, 나에게 한국어 듣기 연습을 위해 최고의 교실이라고 할 수 있었다. 나는 장학 재단에서 주최하는 다양한 행사와 활동에 적극적으로 참여하였다. 가끔 날씨가 추워져서 밖에 나가기가 싫었던 적도 있었지만 인생에서 언제쯤 또 이런 기회가 있을지 모른다고 생각했더니 더 이상 저주하지 못 하게 되었다. 
이 덕에 한국국제교류재단의 ‘노력상’을 수상하여, 나의 한국어를 공부하는 원동력이 되었다. 


한글날 등 한국의 기념일 중에는 중요한 날을 기념하기 위해 학교나 기관마다 다양한 행사가 열렸다. 
이 행사들을 통해  한국인과 외국인들이 서로 문화교류를 할 수 있는 것이고, 외국인을 위한 글쓰기 대회나 한국어 겨루기 등 다양한 대회가 개최되었다. 나는 개인적으로 이러한 행사에 참여하는 것을 정말 즐겨웠고 가끔씩 생긴 향수병 해소에 도움이 되었다. 때로는 행사에 참여하는 감사와 보답으로 기념품도 받은 적이 있었고 좋았다.  
한국은 행사마다 참여객들에게 베푸는 기념품을 아주 잘 만들었고 나는 한국 유학 때 받은 행사 기념품을 아직도 간직하고 있다. 한국은 ‘설날’이나 ‘어린이 날’, ‘개천절’, ‘광복절’, ‘현총일’ 등 공휴일과 같은 날도 있고, 중요하다고 여기지만  쉬는 날이 아닌 ‘삼계탕 먹는 날’이나 ‘커플과 관련된 날’ 또는 ‘차 없는 날’ 등도 있다. 나는 이 날들을 통하여 한국인들의 한마음이 되는 것을 엿보였다. 특히 스승의 날은 한국인들이 선생님과 웃어른에 대한 존경심이 대단하고 한국 유학 동안 스승의 날이 아닌데도 평소에 한국인들이 선생님과 웃어른에게 대하는 모습을 참으로 보기가 좋았다. 이는 태국인의 풍습과 유사하지만 한국 사람들은 마음속으로만 감정을 품지 않고 행동을 적극적으로 진지하게 실천하는 것을 보여 주는 것이다. 
1년 동안의 내 한국 유학은 내 인생에 좀더 진지하게 생각하고 재미와 짜릿한 긴장이 가득 찬 걸음으로 걷게 되었던 것 같다. 


2006년에 이화여자대학교 이화글로벌파트너십 프로그램 (EGPP)으로 한국에 두 번째로 유학할 기회를 얻었다.  
석사학위를 취득하고 졸업한 후, 바로 2009년에 포스코청암재단의 장학금을 받아 박사 과정을 진학하였다. 나에게 장학금을 지원하는 재단을 비롯하여 학과 교수님들과 태국인 유학생 선배님들에게도 깊은 감사의 말씀을 전하고 싶다. 
태국인 유학생 선배님들의 좋은 롤모델 덕분에 한국인들에게 태국인 학생에 대한 인상이 좋아, 태국인 학생에게 매년 지속적으로 장학금을 지원해 주는 것이다. 대학원에 다니는 것은 여간 힘든 일이 아니었다는 것을 알지만 나도 앞으로의 후배들을 위해 최선을 다하겠다고 다짐을 하였다. 


대학원 생활은 참으로 어려웠고 적응하는 데 시간이 많이 걸렸다. 
배우는 내용이 깊고 복잡했다. 방학에도 스터디를 하고 한국인들의 교육열을 감안하면 정말 대단하지 않을 수가 없다. 나의 대학원 생활은 주로 강의실, 도서관 그리고 기숙사뿐이었다. 
나는 학교 앞 가게는 물론이고 한국의 곳곳에도 나갈 시간이 거의 없었다. 특히 학위 논문을 작성했을 때는 크게 낙담하여 학교를 그만둘 생각을 자주 하게 되었다. 그러나 그럴 때마다 학과 지도 교수님과 동기들 그리고 장학 재단 스태프에게서 아낌없는 용기 및 조언을 받았고 힘이 되었다. 한국 유학생이 된 것은 나에게 좋은 교육만 제공해 주는 것뿐이 아니고 좋은 우정, 또 인생은 꼼꼼하고 신중하게 생활하라는 것까지 키워 주었다. 한국 유학은 내 인생의 변화로 이끄는 첫걸음이라고 할 수 있고 인생의 목표가 더 명확해졌던 것이다. 


장학생으로서 얻게 된 영광스러운 또 하나의 기회는 다른 장학생 친구들과 함께 청와대를 관람하는 것이었다. 그날에 나는 정말 긴장하였고 내가 한국 장학생이 된 것은 참으로 뿌듯하고 자랑스러웠다는 추억이었다. 석•박사 학위를 취득하였고 태국에 돌아온 후에도 장학 재단과 대학교에서 지속적으로 소식을 전해 주고, 내가 한국 유학생이었던 사실임이 기억 속에서 더 뚜렷해졌던 것 같다.
   

내가 한국 유학했을 때, 태국인들에게 주어진 한국 장학금은 1년에 약 1-2명 정도 그리 많지 않았던 기억이 있었다. 지원자의 자격 요건도 엄하였고 경쟁률도 아주 높았다. 최근에는 많은 태국인들이 한국 및 한국어에 대한 관심을 가지고 한국 유학의 꿈을 안고 있는 사람이 점점 많아졌다. 태국인들에게 한국 유학할 수 있는 기회를 예전보다 더 많아졌지만 경쟁률이 예전과 다르지 않고 여전히 높게 나타났다. 교육 제도가 우수한 나라인 한국에서 장학생으로 유학할 수 있다는 것은 인생에서 아주 좋은 기회라고 할 수 있다.  기회가 왔을 때, 이 기회를 꽉 잡도록 하기 위해서는 자기 계발을 꾸준히 하고 몸과 마음 준비도 튼튼하게 하면 좋겠다. 한국어나 한국어교육과 무관한 분야에 유학하는 관심이 있어도 한국에서 유학생활을 빨리 적응할 수 있도록 하기 위해 한국어 및 한국 문화에 대해 알아보는 것도 좋을 것이다. 한국 장학금을 받는 사람인 경우는 공부하는 과정이 아무리 많이 힘들고 많은 어려움을 겪더라도 장학금을 지원하는 목적이 무엇인지 잊지 말고 끝까지 그 목표를 달성하도록 노력하면 좋겠다. 

   마지막으로 부족한 나에게 학비와 생활비에 대한 걱정없이 공부에 집중할 수 있도록 장학금을 제공해 준 모든 장학 재단 및 관계자분들을 비롯하여, 최적의 교육시설을 갖춘 한국 대학 기관, 내가 몇년 전부터 학교를 졸업했는데도 아직까지 내 곁에서 응원해 주시고 아낌없는 지원과 따뜻한 마음을 베풀어 주신 교수님들께 고맙다는 말씀을 다시 한번 드리고 싶다. 

교수님과 한국인 친구들이 나를 “우리 씨리낫”이라고 부를 때마다 나는 한국의 일부인 것처럼 느꼈다는 것이다. 
아무리 시간이 흘러가도 나는 한국에 도착했을 때의 첫느낌이 아직도 선명하다. 

그 동안 좋은 기회를 받은 보답으로 태국 내 한국어 교육의 발전을 위해 최선의 노력을 다 할 것을 약속드린다.