우수상_01

ประเภท ผู้สำเร็จการศึกษา(เรียงความ Essay) รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2_01

Ewha Womans University  이화여자 대학교
SUPAPORN BOONRUNG

วันนี้คือวันที่มีความสุขที่สุด

오늘이야말로 가장 행복한 날

ภาษาไทย  태국어

   
ความทรงจำในครั้งแรกที่มาถึงเกาหลียังคงชัดเจน ตอนนั้นหันไปรอบตัวทางไหนก็เต็มไปด้วยภาพใบไม้เปลี่ยนสีละลานตาทั้งสีแดงสีเหลือง สำหรับฉันแล้วมันช่างตื่นเต้นและเป็นภาพในความทรงจำที่งดงาม ท่ามกลางความเบิกบานใจนั้น ก็ทำให้คิดขึ้นมาได้ว่า ฉันมาอยู่ ต่างแดนคนเดียว ท่ามกลางใบไม้เปลี่ยนสี พลันจู่ ๆ ก็ทำให้คิดถึงพ่อกับแม่ที่เมืองไทย วันข้างหน้าต่อไปฉันจะต้องใช้ชีวิตเพียงลำพังที่เกาหลี ฉันจะต้องพึ่งพาตัวเอง ฉันจะต้อง สำเร็จ การศึกษากลับไปให้ได้ แค่คิดอย่างนี้ความกดดันและความกลัว และความเหงา ก็ ผลุดขึ้นทันที
   ตอนนี้ถ้านึกถึงชีวิตการเรียนที่เกาหลีทีไรมากกว่าความกลัวคงเป็นความตื่นเต้น ความอยาก รู้อยากเห็นที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆการพยายามศึกษาวิจัยด้านการเรียน การสอนภาษาเกาหลี อยู่เสมอ ช่วงเวลาที่ใช้ชีวิตที่เกาหลีมักจะได้ยินคำพูดที่ว่า “คนที่เริ่มต้นเร็ว จะประสบความ สำเร็จเร็ว” คำพูดนี้เป็นแรงบันดาลใจที่ดีให้ฉัน ฉันคิดว่าคำพูดนี้ก็เสมือนการที่จะประสบความสำเร็จก้าวหน้าในอนาคตได้ก็ต้องเริ่มจาก การทำชีวิตตัวเองในแต่ละวันให้ประสบ ความสำเร็จ ดังนั้นฉันก็เกิดคำถามขึ้นในใจว่า “ฉันจะใช้ชีวิตอย่างไรให้ประสบความสำเร็จ”แน่นอนว่าสำหรับฉันตอนนี้ ก็คงเริ่มจากการตั้งใจเรียนและใช้ชีวิตการเรียนที่เกาหลีให้ดีที่สุด และสิ่งที่สำคัญฉันจะต้องใช้ชีวิตให้เข้ากับคนเกาหลี เข้าใจและเรียนรู้คนเกาหลีและ วัฒนธรรมเกาหลี

제 1회 한국어 전공 신입생 오리엔테이션
งานปฐมนิเทศนิสิตวิชาเอกภาษาเกาหลี รุ่นที่ 1

ช่วงเวลาที่เรียนที่เกาหลีมีสิ่งที่ทำให้ฉันเข้าใจได้อย่างแจ่มแจ้ง ก็คือ เรียนรู้คนเกาหลี
พร้อมกับเรียนภาษาเกาหลี เมื่อก่อนฉันเคยคิดว่าการมาที่เกาหลีเพื่อมาเรียนภาษาเกาหลีนั้นเป็นเรื่องง่ายแค่ฉันตั้งใจเรียนภาษาเกาหลีและก็กลับเมืองไทยไปเป็นครูสอนภาษาเกาหลี แต่แท้จริงแล้วการใช้ชีวิตที่เกาหลีทำให้ฉันได้เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ มากมาย นอกเหนือจากภาษาเกาหลี ทำให้ฉันได้เปิดโลกทัศน์ ได้สัมผัสความยากลำบากในการใช้ชีวิตต่างแดน
ซึ่งมันไม่ใช่แค่การเรียนภาษาเกาหลีแต่มันคือการเรียนรู้คน วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์
สิ่งเหล่านี้ถึงจะเรียกว่า การเรียนภาษเกาหลี โดยเฉพาะอย่างยิ่งความรู้สึกในครั้งแรกที่ต้องเข้าใจความคิดของคนเกาหลี เข้าใจวัฒนธรรม เป็นเรื่องที่ยากมาก นั้นคงเป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้ฉันคิดว่า 
“ถ้าจะสอนภาษาเกาหลีให้ดีแค่จะรู้แต่ภาษาเกาหลีเพียงอย่างเดียวคงไม่พอ”

   เมื่อฉันได้รู้จักคนเกาหลีฉันก็ยิ่งชอบ ที่ประเทศเกาหลีมีฤดูใบไม้ผลิ ฤดูร้อน ฤดูใบไม้ร่วง ฤดูหนาว คนเกาหลีก็มีลักษณะหลากหลายเช่นเดียวกับสี่ฤดูกาล หรือเพราะการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาลทำให้คนเกาหลีต้องใช้ชีวิตอย่างขยันเพื่อปรับสภาพ ให้เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลง ต้องใช้ชีวิตที่ยุ่งแข่งขันกับเวลาเพื่อความสำเร็จในชีวิต
และฉันก็เกิดความคิดอีกมุมมองหนึ่งว่าหรือเป็นเพราะคนเกาหลีกินกิมจิทุกวันหรืออย่างไร เพราะบางครั้งคนเกาหลีก็ช่างมีนิสัยเหมือนกับกิมจิ มีสุภาษิตหนึ่งในภาษาเกาหลีที่ว่า ‘ไม่ทันได้ฝันถึงคนให้ต๊อก ก็กินน้ำแกงกิมจิก่อนแล้ว” เปรียบได้ว่าคนเกาหลีไม่ว่าจะทำอะไรก็ใจร้อน ทำอะไรเร่งรีบ แต่อีกด้านกิมจิสามาถทำอาหารได้หลากหลายเมนูก็เหมือนกับความสามารถของคนเกาหลีที่หลากหลายเช่นกัน คนต่างชาติหลายคนที่กินกิมจิครั้งแรกแล้วไม่ชอบ เพราะคิดว่ามีรสชาติแปลก ไม่ถูกปาก แต่พออยู่ที่เกาหลีไปนาน ๆ เมื่อไหร่ที่กินข้าวแล้วไม่มีกิมจิก็จะรู้สึกเหมือนขาดอะไรไป ฉันคิดว่ากิมจิก็เหมือนคนเกาหลีที่เจอกันครั้งแรก

ก็อาจจะไม่ค่อยชอบไม่ถูกใจหรือคิดว่าแปลก ๆ แต่เมื่อได้ใช้ชีวิตด้วยกัน วันหนึ่งถ้าไม่ได้เจอหรือไม่ได้ติดต่อก็รู้สึกเหมือนขาดอะไรไปสักอย่าง

   คนเกาหลีมีไมตรีจิต ช่วงเวลาที่ฉันอยู่เกาหลี ฉันมักจะได้ไปทัศนศึกษาที่ฮันนก
(หมู่บ้านพื้นบ้านเกาหลี) ฉันประทับใจและคิดว่าเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่หาดูได้ยาก ฉันคิดว่าคนเกาหลีก็เหมือนฮันนก ครั้งแรกที่พบกันก็จะไม่ค่อยพูดด้วย หรือพูดด้วยสีหน้าที่เคร่งขรึม ฮันนกรอบล้อมไปด้วยกำแพงหิน ไม่ว่าใครก็ยากที่จะมองเห็นข้างในบ้าน คนเกาหลีก็คงเป็นเฉกเช่นนั้น ไม่ค่อยพูด ไม่แสดงสีหน้า แต่เมื่อเวลาผ่านไป ได้สนิทสนมกันมากขึ้น คนเกาหลีก็จะใส่ใจ ถามสารทุกข์สุขดิบ คอยช่วยเหลือ ฉันคิดว่านี่เป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของคนเกาหลี คำพูดที่ว่า “คนเกาหลีมีไมตรีจิต” จากที่เมื่อก่อนที่ฉันไม่เข้าใจ แต่เมื่อเวลาผ่านไปได้ใช้ชีวิตที่เกาหลีก็ยิ่งทำให้เข้าใจคำพูดนี้ได้ดี ไมตรีจิตที่คนเกาหลีมีให้ คอยห่วงใยช่วยเหลือฉัน สบายใจที่จะพูดคุยเล่าเรื่องราว 
ต่าง ๆ ให้ฟัง ตอนนี้สำหรับฉันถ้าไม่มีกิมจิก็กินข้าวไม่ได้ ก็คงเปรียบเสมือนกับ ถ้าไม่ได้เจอเพื่อนเกาหลีนาน ๆ หรือไม่ได้ติดต่อกันก็จะคิดถึง ช่วงเวลาที่ลำบากตอนใช้ชีวิตที่เกาหลี มีเพื่อน ๆ ชาวเกาหลีคอยห่วงใยอยู่เสมอทำให้ฉันฝ่าฟันความกลัวและความลำบากนั้นมาได้   

   ประสบการณ์การมาเรียนที่เกาหลีครั้งนี้เปรียบเสมือนการเข้าไปอยู่ในสังคมใหม่  ฉันก็เหมือนน้ำที่เปลี่ยนไปตามภาชนะ ที่จะต้องปรับตัวให้เข้ากับสังคมรอบตัวและยืดหยุ่น
ปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ต่าง ๆ ให้ได้ ฉันอยากเป็นอาจารย์สอนภาษาเกาหลีที่ดี ความรู้ความสามารถด้านภาษาเกาหลีฉันได้พยายามศึกษาค้นคว้ามามากพอควรแต่ก็ยังมี สิ่งที่ต้องเรียนรู้อยู่เสมอ ฉันคิดว่าจะต้องพัฒนาความสามารถเพื่อการพัฒนาการเรียนการสอนภาษาเกาหลีในประเทศไทยให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น เพราะคำว่าอาจารย์ไม่ว่าเมื่อไหร่ก็คือการเรียนรู้ ไม่ว่าเมื่อไหร่ก็ต้องตั้งใจสอนหนังสืออย่างเต็มที่เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 หลังจากที่ฉันสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทจาก
มหาวิทยาลัยสตรีอีฮวา ฉันได้เข้าทำงานเป็นอาจารย์ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฉันได้สอนนักศึกษาอยู่ประมาณ 3 ปี และในพ.ศ. 2553 ฉันก็ได้เดินทางไปศึกษาต่อระดับ

나의 모습 

ปริญญาเอกจนถึงปีพ.ศ. 2557 ในวันนี้ที่ฉันเข้ามาทำงานที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนี้ ฉันได้ตั้งเป้าหมายจะเปิดสอนภาษาเกาหลีเป็นวิชาเอก และในที่สุดเมื่อปีพ.ศ. 2561 ฉันสามารถผลักดันจนเปิดวิชาเอกภาษาเกาหลีในหลักสูตรอักษรศาสตร์บัณฑิตได้สำเร็จ 
นับเป็นความภาคภูมิใจและเป็นช่วงเวลาที่ฉันมีความสุขไม่ว่าใครก็คงมีความทรงจำ สำหรับฉันแล้วคงยากที่จะลืมความทรงจำในการใช้ชีวิตที่เกาหลี เพราะฉันรู้ดีว่าความทรงจำเหล่านั้นเอง ทำให้ฉันได้มีโอกาสเปล่งแสงได้ในวันนี้วันเวลาที่ผ่านมาทั้งหมดในการใช้ชีวิตที่เกาหลีทำให้ฉันมีวันนี้ นั้นก็หมายความว่า วันนี้จึงเป็นวันที่ฉันมีความสุขที่สุด

ภาษาเกาหลี  한국어

오늘이야말로 가장 행복한 날


처음 한국에 갔을 때의 기억이 아직도 생생합니다. 
그때는 한국의 곳곳에 눈을 돌릴 때마다 보이는 붉게 물든, 노랗게 물든 알록달록한 낙엽을 감상하는 것은 저에게 너무나 신비롭고 아름다운 경험이었습니다. 
그렇게 단풍의 아름다움을 만끽하는 사이, 고향에 계신 부모님과 떨어져 한국에 혼자 와 있다는 생각이 불현듯 떠올랐습니다. 
앞으로 한국에서 한국 생활에 적응하고 모든 것을 혼자 해나가야 할 뿐 아니라 대학원 수업을 잘 이수해야 한다는 압박감에 두려움과 외로움이 일기도 했습니다. 
그러나 그런두려움보다 한국 생활에 대한 설레임과 한국어 교육 연구를 더 열심히 해야겠다는 굳은 의지가 더 컸습니다.


한국에서 생활하며 “일찍 시작하는 사람이 일찍 성공한다”는 말을 많이 들었습니다. 
이 말은 저의 한국 생활에 많은 영감을 주었습니다. 
그래서 저도 빨리 한국 생활에 적응하고 본격적으로 한국어 연구를 시작하고 싶었습니다. 
그때부터 저는 스스로에게 “한국에서 어떻게 생활해야 하지?”라는 질문을 하기 시작했습니다.  
한국에서 공부하게 될 저에게는 ‘어떻게 하면 가장 최선의 유학생활을 할 수 있나, 어떻게 하는 것이 한국에서 잘 지내는 것이고 한국 사람과 한국 문화에 적응하는 것인가’가 가장 큰 문제였습니다. 

  한국에서 유학 생활을 하면서 가장 크게 깨달은 것은 한국어를 배우며 한국 사람들이 어떤 사람들인지 알게 된 것입니다. 한국에 공부하러 갈 때만 해도 한국어에 대한 저의 생각은 매우 간단했습니다. 태국에서 한국어 선생님이 되기 위해 한국어를 배우는 것이기 때문에 한국어만 열심히 공부하고 태국에 돌아오면 된다고 생각했었습니다. 

하지만 한국에서의 생활이 곧장 현실로 다가오며 여러 가지 힘든 일에 부딪히게 되면서 한국어 이외에 더 배우고 알아가야 할 새로운 일들이 있다는 것, 다시 말해서 한국어는 언어적인 측면에만 국한되는 것이 아니라 문화, 사람, 역사 등 한국의 모든 것에 한국어가 배어있다는 것을 알게 되었습니다. 

특히 한국에 처음 와서 한국 사람의 사고방식과 한국 문화에 적응해야 하는 것이 어렵게 느껴졌습니다. 

그래서 이제는 ‘한국어를 잘 가르치려면 한국어만 잘 하는 것으로는 부족하다’라는 생각을 하게 되었습니다. 

그리고 한국 사람을 알아갈수록 점점 더 좋아하게 되었습니다. 
한국에는 봄, 여름, 가을 그리고 겨울 이렇게 사계절이 있는 것처럼 다양한 한국 사람이 있다고 생각합니다. 

또 계절의 변화가 있는 만큼 한국 사람도 열심히 살며 변화에 맞춰 살기 위해 항상 시간과 싸우고 바쁜 생활을 합니다. 

그런데 그 것보다 제 머리 속에 항상 떠오르는 한국 사람의 이미지는 한국 사람들이 매일 김치를 먹어서인지 ‘김치’와 비슷하다는 것입니다. 

한국 속담 중에 ‘떡 줄 사람은 꿈도 안 꾸는데 김칫국부터 마신다’라는 말처럼 한국 사람도 마음이 성급해서 무엇이든지 하면 빨리 해야 한다고 생각합니다. 

그런 반면에 김치로 다양한 음식을 만들 수 있는 것처럼 한국 사람의 능력도 여러 가지를 잘 할 수 있다는 것입니다. 

처음 김치를 먹는 외국인들은 대부분 김치를 별로 안 좋아하거나 맛이 이상해서 못 먹는 경우가 많습니다. 

그런데 한국에 살다가 보면 김치 없이 밥을 먹으면 무엇이 빠진 것 같은 느낌이나 밥을 제대로 못 먹는 느낌을 받게 됩니다. 

이런 것처럼 한국 사람도 처음에 만날 때는 별로 좋지 않거나 이상하다는 생각이 들지만 생활을 같이 하면서 어느 날 못 만나거나 오래 동안 연락이 없으면 허전하고 무엇인가가 빠진 것 같은 느낌을 받곤 합니다.

게다가 한국 사람은 정이 아주 많습니다. 
저는 한국에 사는 동안 답사 때문에 한옥에 여러 번 가봤는데 갈 때마다 받은 한옥에 대한 인상은 어느 나라에서도 찾아보기 힘들 정도로 특별했습니다. 제가 본 한국 사람도 한옥과 마찬가지로 특성이 있습니다. 
처음에 만나거나 잘 모르는 사람에게 절대로 말을 걸지 않고 무뚝뚝한 얼굴로 이야기합니다. 
한옥은 돌로 쌓은 담이 있어서 사람들이 그 집 안을 보기가 쉽지 않은 것처럼 처음에는 한국 사람의 마음까지 알기가 힘들었습니다. 
말도 잘 하지 않고 표정을 전혀 바꾸지 않기 때문입니다. 
그런데 시간이 흐르면서 친해지게 되면 진심으로 도와주고 항상 신경을 써주고 잘 챙겨 주는 것들이 바로 한국 사람의 특징이라고 생각합니다. 
한국 사람과 친해지기 전에 '한국 사람은 정이 아주 많다'라는 말을 많이 들었는데 실제로 정이 어떤 것인지 이해하기가 어려웠지만 한국 친구와 만나고 서로 이야기해 보고 사귀다가 보니 '정'이란 말을 차츰 이해하게 되었습니다. 

그 '정'은 항상 서로 도와주고, 옆에 있으면 마음이 편하고 며칠 동안 연락이 없으면 걱정되는 것이 아닐까 싶습니다. 
그래서 오랫동안 사귀거나 함께 지내 생기게 되는 친하거나 사랑하는 마음이 '정'이란 말임을 알게 되었습니다. 
이제 저는 김치가 없으면 밥을 제대로 못 먹는 것처럼 정이 많은 친구들을 오래 동안 못 보면 허전하고 그리워집니다. 힘든 유학생활을 하면서 정이 많은 한국 친구들 덕분에 두렵거나 힘든 일들을 잘 극복해 왔습니다. 
이 경험을 통해 유학생활은 물이 그릇 모양에 맞춰 담기듯이 새로운 사회 속에 들어가서 잘 적응하고 서로 이해하고 돕는 것이라는 생각이 들었습니다.


제 한국어 실력은 예전에 비해 부족한 부분이 어느 정도 채워졌다고 생각하는데도 아직까지 많이 부족합니다. 
특히 태국에서 한국어 교육을 담당하고 있는 사람으로서 한국어 교육의 발전을 위해서 더 실력을 키워야 한다고 생각합니다. 
선생님은 언제나 새로운 지식을 공부하고 열심히 가르쳐야 하는   사람이기 때문입니다.
   저는 2007년 2월 이화여자대학교 국제대학원에서 한국어 교육 전공으로 석사학위를 받고 태국으로 돌아와 태국 왕립쭐라롱껀대학교에서 교수로 임용되었습니다. 
3년 남짓 학교에서 학생들을 가르치다가 2010년 3월 이화여자대학교 국제대학원의 박사과정에 다시 입학하였으며 2014년에 수료하고 학교로 돌아왔습니다. 
임용된 뒤 제 첫 번째 목표는 왕립쭐라롱껀대학교에 한국어 전공을 개설하는 것이었습니다. 제가 박사 과정을 수료하고 돌아왔을 때 태국 내 한국어 교육의 위상은 매우 높아진 상태였습니다. 
학교로 돌아가 왕립쭐라롱껀대학교의 한국어교육을 강화시키고자 많은 노력을 하였으며, 2018학년도에 한국어를 정식 학부 전공으로 개설하였습니다. 그 일이 저에게 한국어 교육자로서 큰 보람이고 가장 행복한 일입니다.

   
  누구에게나 ‘추억’이 있기 마련입니다. 
저에게는 한국에서 지냈던 생활을 시간이 지나더라도 잊지 못할 것 같습니다. 
그 추억이 현재를 밝게 비춰 주기 때문입니다. 
그리고 저에게는 한국 유학 생활의 행복한 추억들이 쌓여서 오늘의 저를 있게 해주었기 때문에 오늘이야말로 가장 행복한 날이라고  생각합니다.