장려상_02

EWHA WOMANS UNIVERSITY 이화여자대학교
YADA NUANSAKUL

ภาษาไทย 태국어

มาเกาหลีด้วยมือเปล่า 
빈 손으로 한국에 오다

< แนะนำตัว >
 สวัสดีค่ะ พี่ชื่อ ‘ญาดา’ นะคะ ชื่อเล่นชื่อ ‘ทอฟฟี่’ ค่ะ พี่เพิ่งจบการศึกษาระดับปริญญาตรีจากมหาลัยสตีอีฮวา หรือที่เราเรียกกันสั้นๆว่า ‘อีแด’ เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมานี้เองค่ะ พี่เชื่อว่าคณะที่พี่จบไปน่าจะเป็นความฝันของน้อง ๆ คนไทยที่อยากมาเรียนต่อเกาหลีหลาย ๆ คนแน่ๆ นั่นก็ คือคณะ ‘Communication & Media’ หรือ ‘คณะนิเทศศาสตร์’ นั่นเอง ทำไมพี่ถึงรู้น่ะเหรอก็เพราะว่าแค่ในอีแดที่เดียวก็มีนักเรียนไทยเข้ามาเรียน คณะนี้แล้วมากถึง 3-4 คน ต่อ 1 ปีการศึกษาเลยยังไงล่ะ นอกจากนี้พี่เองก็เคยเป็น Ambassador เดินทางกลับไทยไปโปรโมทมหาวิทยาลัยของพี่ให้ แก่นักเรียนไทยที่สนใจมาแล้ว พี่จึงได้รู้ว่านักเรียนมัธยมปลายที่สนใจมาเรียนด้านนี้ที่เกาหลีใต้นั้นเยอะจริง ๆ ค่ะ

 < ทำไมต้องเป็นคณะนี้ >
 สาเหตุที่คณะนี้ได้รับความในใจในหมู่เด็กไทยนั้น พี่คิดว่าคงไม่ปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นเพราะอิทธิพลจากอุตสาหกรรมบันเทิงของเกาหลีใต้ที่สร้าง แรงบันดาลใจให้เด็กไทยหลายคนอยากเรียนรู้ทักษะและศึกษาเบื้องหลังความสำเร็จของเกาหลีใต้เพื่อนำไปใช้สร้างสื่อดีๆ ให้ประเทศไทยดูบ้าง ซึ่งพี่เองก็เช่นกัน พี่มาที่นี่โดยไม่รู้อะไรเลยค่ะนอกจากว่า “ฉันต้องมาเรียนสาขานี้ในเกาหลีใต้ให้ได้” โดยที่พี่ไม่ได้กังวลเรื่องอื่นเลย ทั้งเรื่องการหา เพื่อน อุปสรรคทางภาษาค่าครองชีพ หรือโฮมซิกต่าง ๆ เรียกได้ว่า ‘มามือเปล่า’ เลยทีเดียวได้ค่ะเพราะนอกจากกระเป๋าเดินทางแล้ว พี่ไม่ได้พก อะไรมาเลย นอกจากความตั้งใจที่จะมาศึกษาต่อทางด้านนี้ค่ะ 

< ไปเรียนได้ยังไง >
 ก่อนอื่นเลย พี่ได้รับทุนค่าเทอมเต็มจำนวนตลอด 4 ปีของทางมหาลัยโดยตรง นั่นทำให้พี่เบาใจเรื่องค่าใช้จ่ายไปได้อยู่บ้าง ที่ต้องกังวลคือเรื่องการ รักษาเกรดให้ถึงเกณฑ์ของทุนในทุก ๆ เทอมมากกว่าค่ะ ซึ่งหากเกรดเฉลี่ยของเทอมไหนต่ำกว่าเกณฑ์เขาก็จะไม่ให้ทุนค่ะและเนื่องจากว่าพี่ สมัครกับทางมหาลัยโดยตรง เงื่อนไขก็จะต่างออกไปจากทุนรัฐบาลเกาหลีที่จะให้ไปเรียนภาษาเกาหลีก่อนเข้าเรียนจริง ๆ เป็นเวลา 1 ปีการศึกษา แต่ในกรณีของพี่พี่ต้องเข้าเรียนทันทีโดยไม่ได้เรียนภาษาเกาหลีมาก่อนเลยค่ะ ฟังดูน่ากลัวใช่ไหมล่ะแล้วอย่างนี้พี่จะเรียนได้หรอ? 

< พูดภาษาเกาหลีไม่ได้จะเรียนได้ไหม >

คำตอบก็คือ ‘ได้’ ค่ะ อันที่จริงแล้วเงื่อนไขของแต่ละมหาลัยและหลักสูตรอาจต่างกันไป แต่หากทุกคนได้ลองหาโปรแกรมที่เหมาะกับเงื่อนไข ของตัวเองให้เจอมันก็เป็นไปได้นะคะ สำหรับอีแดนั้นในปีแรกนักเรียนชาวต่างชาติทุกคนจะมีสิทธิ์ ‘เรียนเกินหน่วยกิต’ เพื่อให้ได้เรียนวิชาภาษา เกาหลีไปพร้อม ๆ กับเรียนวิชาอื่น ๆ ค่ะและที่จริงแล้วมีหลายวิชามากเลยค่ะที่สอนเป็นภาษาอังกฤษ พี่จึงวางแผนไว้ว่าเรียนวิชาที่เป็นภาษา อังกฤษไปก่อนในปีแรกแล้วค่อยไปลงวิชาที่สอนเป็นภาษาเกาหลีทีหลังเมื่อพร้อมค่ะและแม้แต่ในตอนที่พี่ยังไม่เก่งภาษาเกาหลีมากนักแต่พี่ก็ได้ พบว่าอาจารย์หลายท่าน รวมถึงเพื่อน ๆ หลายคนนั้นพร้อมจะเปิดใจและพยายามสื่อสารกับเราให้รู้เรื่อง ทั้งการใช้ภาษาเกาหลีที่ประโยคง่าย ๆ คุย กับพี่หรือบางครั้งก็ใช้ภาษาอังกฤษสื่อสารปนกันไปด้วยบ้าง ทำให้พี่หมดกังวลไปเลยค่ะ ที่สำคัญคือนี่เป็นหนึ่งในความประทับใจที่พี่มีต่อการมา เรียนต่อเกาหลีใต้เลยนะคะ นั่นก็คือ ‘ความเป็นสากล’ ต่อให้จะมีอุปสรรคทางภาษาเกิดขึ้นบ้างแต่ไม่มีใครถูกทิ้งไว้ข้างหลังและทุกคนสามารถเข้า ถึงการศึกษาได้อย่างทั่วถึงจริง ๆ ค่ะ 
< ความผูกพันที่มีต่อครูและเพื่อน ๆ >
 ความบันเทิงเกิดขึ้นตั้งแต่เทอมแรกคลาสภาษาเกาหลีระดับต้นทำให้พี่ได้เจอกับเพื่อนหลากหลายสัญชาติหลัก ๆ ก็จะเป็น แคนาดาจีน เวียดนาม ไต้หวัน และญี่ปุ่นค่ะในคลาสจะมีนักเรียนอยู่ประมาณ 15 คน ซึ่งเกินครึ่งของพวกเราเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยนของอีแด บางคนมาเรียน 1 ปีและหลายคนมาอยู่แค่ 1 เทอมเท่านั้นเองค่ะ ตอนที่ต้องบอกลากันก็เศร้าเลยค่ะเพราะพวกเราสนิทกันมากไม่รู้อะไรดลบันดาลให้คนที่เข้ากัน ได้ดีอย่างพวกเรามาอยู่คลาสเดียวกันในเทอมนั้น แม้แต่อาจารย์เองยังพูดว่า ‘นี่เป็นคลาสที่ครูผูกพันและสนุกไปกับการสอนมากที่สุดเท่าที่เคย สอนมาเลย’ เลยทีเดียวค่ะ ดังนั้นในเทอมถัดมา เมื่ออาจารย์มีข่าวดีอย่าง ‘วันแต่งงาน’ อาจารย์เขาก็ยังนึกถึงศิษย์ต่างชาติอย่างพวกเรา และเชิญคนไปร่วมงานด้วยค่ะ นับว่าวันนั้นเป็นวันคืนสู่เหย้าคลาสเกาหลีเทอม 1 เลยก็ว่าได้เป็นความทรงจำที่ดีมาก ๆ วันนึงเลยค่ะ
< ที่โหล่ของห้อง >
 ความสนุกจืดจางลงเล็กน้อยไปในเทอมที่ 3 ซึ่งก็นับว่าพี่ขึ้นปี 2 แล้ว ทางมหาลัย ฯ มีข้อจะวิชาบังคับให้นักเรียนทุกคนต้องลง เพื่อที่จะสำเร็จการ ศึกษาได้ส่วนมากจะเป็นวิชาแนววิทยาศาตร์ค่ะโดยวิชาที่พี่คิดว่าโหด

사랑스러운 나의 반 친구와 선생님

ของอาจารย์่ซึ่งทราบดีว่านี่เป็นวิชา บังคับ เด็กทุกคนไม่ได้พื้นฐานมาก่อน การตัดเกรดจึงเป็นไปอย่างสมเหตุสมผลและพี่ก็รอดมาได้ค่ะ 
< ความสำเร็จเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ภูมิใจ >
 ที่จริงแล้วพี่ก็เคยนึกกังวลว่าเราคงจะไม่ได้ทำกิจกรรมหรือเก็บเกี่ยวประสบการณ์ได้มากเท่าเด็กเกาหลีหรือเปล่าแต่ว่าที่จริงแล้วโอกาสมีเยอะ กว่าที่คิดไว้มาก นับตั้งแต่เทอมที่ 4 หลังจากที่พี่ทยอยลงเรียนวิชาพื้นฐานของคณะที่เน้นไปทางด้านปัจจัยทางวัฒนธรรมและจิตวิทยาการสื่อสาร ของมนุษย์ไปบ้างแล้ว พี่ก็ยังไม่แน่ใจว่าตัวเองควรเลือกสาขาอะไรเป็นสาขาเอกดีซึ่งคณะพี่ก็จะมีให้เลือกอยู่ 6 สาขาค่ะได้แก่ 1.) วรสารศาสตร์, 2.) ประชาสัมพันธ์และโฆษณา, 3.) ดิจิตัลและสื่อวิดิโอ, 4.) กฏหมายและการจัดการสื่อ, 5.) การหลอมรวมสื่อเป็นหนึ่งเดียว, และ 6.) วิศกรรมและ ธุรกิจเกี่ยวกับสื่อจนกระทั่งพี่ได้เรียนวิชา Consumer Psychologo & Advertising ไปแล้วพบว่าตัวเองทำได้ดีมากค่ะอาจารย์ที่สอนวิชานี้มอบ โอกาสให้นักเรียน 3 กลุ่มที่ทำทีมโปรเจคได้คะแนนสูงสุดในห้องเป็นตัวแทนมหาลัย ฯ ไปนำเสนอผลงานในระดับเขตร่วมกับมหาวิทยาลัยอื่น ๆ และกลุ่มของพี่ก็ได้รับเลือกไปค่ะ ด้วยความภูมิใจในความสำเร็จครั้งแรก ทำให้พี่มีแรงกระตุ้นจะทำครั้งต่อ ๆ ไป ปีถัดมาพี่ก็ได้รับเลือกเป็น ตัวแทนอีกครั้งตามที่พี่ตั้งใจไว้เลยค่ะในที่สุดพี่จึงตัดสินใจเลือกสาขาเอกเป็นการประชาสัมพันธ์และโฆษณาค่ะ 
< เรียนจบทีเดียว 3 คณะใน 1 ใบปริญญา >
 ความจริงแล้วช่วงม.6 พี่เองก็ลังเลกับการเลือกคณะอยู่เหมือนกัน เพราะนอกจากความสนใจทางด้านนิเทศศาสตร์แล้ว พี่อยากเรียนจิตวิทยา และชื่นชอบแฟชั่นเป็นการส่วนตัวด้วยแต่จะเรียนทีเดียวทั้งหมด 3 อย่างเลยคงฟังดูเป็นไปไม่ได้ใช่ไหมล่ะ พี่ก็คิดแบบนั้นมาก่อนค่ะจนกระทั่งได้ มาเรียนที่นี่พี่ถึงพบว่ามันเป็นไปได้และพี่ก็ทำได้จริงค่ะ ทางเลือกมีอยู่หลายทางมาก หากจัดสรรเวลาดีๆ ทุกอย่างเป็นไปได้หมดค่ะเราจะจบ 2 คณะหลักใน 1 ใบปริญญา หรือเราจะเป็นคนที่มี 1 คณะหลัก 1-2 คณะรองก็ได้โดยในกรณีของพี่แล้ว หลังจากเก็บหน่วยกิตของ Communication & Media ได้เกินครึ่งใน 2 ปีแรก พอเริ่มขึ้นปี 3 พี่ก็แบ่งเวลาไปลงวิชาของ Psychology และปีสุดท้ายพี่ก็ทยอยเก็บหน่วยกิตของ Fashion Industry ได้สำเร็จจนทั้ง 2 คณะนี้ได้กลายเป็น Minors หรือคณะที่รองมาจากคณะหลักของพี่ซึ่งทั้ง 3 คณะนี

학교의 대표팀으로서 공모전에 참여했을 때

ประสบการณ์ตรงของพี่แล้ว ที่นี่ Friendly กับนักศึกษาชาวต่างชาติมากพอสมควร เลยนะคะ นอกจากนี้พี่ยังพบว่ามีโอกาสดีๆ ให้เราได้ลองไขว่คว้าไว้เป็นประสบการณ์เยอะกว่าที่คิดมากค่ะ พี่เองคิดว่าตัวเองมาที่นี่ด้วยมือเปล่าที่ ไม่มีอะไรเลยแต่ตลอดเวลาที่เรียนอยู่ที่เกาหลีพี่คิดว่าพี่ได้เก็บประสบการณ์และความทรงจำดีๆไว้จนล้นมือเลยค่ะเป็นกำลังใจให้ทุกคนจริง ๆ นะคะ สู้ๆ ค่ะ

나의 졸업날

ภาษาเกาหลี 한국어

빈 손으로 한국에 오다

<자기소개>
안녕하세요~ 
얼마전에 한국에서 이미 졸업한 태국인 유학생 ‘야다’ 입니다. 
나는 올해 8월에 이화여자대학교 (이대)에서 학사 학위를 받았어요. 

내 전공은 무엇인지 궁금하죠? 
한국으로 유학하고 싶은 태국 친구들에게 인기가 너무 많은 전공이에요. 

대충 알고 있겠죠? 네! 맞습니다. 
정답은 바로 “커뮤니케이션-미디어”학부 (커이 부) 입니다! 
내가 어떻게 아는지 알고 싶어요? 
그 이유는 이대에서 매년 커이 부로 입학하게 된 태국인 유학생수가 평균 3-4명이나 있기 때문이에요. 
게다가 나는 이 대의 유학생 홍보대사 활동을 했을 때부터 한국으로 유학하고 싶은 고등학생들을 직접 만난 적이 있어서 ‘태국 애들이 한국에 서 이 분야에 대해 관심이 많다는 걸 알게 되었어요. 

<왜 이 전공?>
대한민국 예능이 태국 청소년들에게 영향을 많이 주는 것은 거절하지 못하는 사실인 것 같아요. 
한국의 미디어는 세계적으로 성공은 태국청소년들에게 한국처럼 그 성공적인 미디어를 만들고 싶은 영감을 주어져서 커이 부에서 한국의 성공적인 방 식을 배우고 싶게 된 것 같아요. 나도 그랬어요. 
나는 한국에 오기 전에 아무것도 모른 채 “난 무조건 꼭 한국에 미디어를 배워야 한다’는 마음밖에 없었어요. 
친구 사귀기, 언어의 장벽, 생활비, 향수병 등은 내가 신경 하나도 안 쓰고 한국으로 유학하게 되었어요. 

바꾸어 말하면 나는 “빈 손으로 한국에 왔는데요”. 

왜냐하면 열정 밖에 다른 것 없이 짐만 갖고 한국에 왔거든요. 

<입학하는 방법> 
일단 나는 장학금을 받았어요. 그래서 비용에 대한 고민은 덜 할 수 있었어요. 하지만 비용보다 나는 학기마다 성적에 신경을 써야 되었어요. 
어느 학기에 장학생 성적기준에 못 맞으면 학교가 장학금을 제공하지 않을 거예요. 

또한 나는 이대에 직접 지원애서 정부초청 외국인 장학생 프로그램(KGSP)의 요건과 달라요. 
나의 경우에는 대학교에 진짜 입학하기 전에 1년동안 한 국어를 미리 배우도록 한국어학당에 가는 프로그램이 없었어요. 
합격하자마자 바로 학교에 가야 된다는 말이에요. 

좀 무섭겠죠? 
한국어 모르면 입학은 가능할지 알고 싶어요? 

<한국말 못 한다면?> 
물론 가능해요. 
학교 또는 프로그램마다 다르겠지만 여러분의 상태와 맞는 요건을 찾으시면 입학할 수 있습니다. 
이대에 서는 외국학생들이 한국어 수업을 신청하여 배우는 시간이 있게 되도록 첫 학기에 기준 학점을 초과할 수 있어요. 
그리고 사실 영어로 진행하는 강의는 생각보다 많았거든요. 
그래서 나는 한국말 못 하는 동안 영어로 진행하는 강의를 수강 신청하여 수업을 들으면서 한국어를 계속 배우고 한국어 능력에 자신이 있을 때부터 한국어로 진행하는 강의를 수강 신청이 시작했어요. 

게다가 내가 한국말 아직 잘 못했을 때도 있었지만, 그런 때에는 교수님과 친구들이 간단한 의사소통을 친절하게 노력해 주셔서 걱정이 없게 되었어요. 

이런 ‘글로벌’ 교육은 내가 한국유학에 대해 가장 좋아하는 점이에요. 
언어의 장벽이 있을 수도 있지만 뒤에 남겨진 학생이 없이 모두 다 함께 교육을 받을 기회가 있네요. 

<교수님 그리고 친구와 우정> 
솔직히 첫 학기부터 한국에서 유학생활을 너무 즐거웠어요. 한국어 수업을 들으면서 캐나다, 베트남, 대만, 일본, 중국 등 양한 국적의 외국인친구를 많이 사귈 수 있었어요. 

이 클래스의 정원은 14-15명인데 대부분이 교환학생이라 1년 또는 1학기 만 한국에 있을 거라서 작별을 해야 했던 날이 너무 슬폈어요. 
우리는 정말 친했기 때문이에요. 
교수님도 ‘우리반 학생이 가장 사랑스럽고 너무 즐거웠다’고 하셨는데요. 우리 관계는 정말 좋았어요. 그래서 다음 학기에 우리 교수님이 결혼하신 예정이어서 우리처럼 외국인학생들을 초대하셨어요. 덕분에 우리 재결합한 기화가 되고 행복한 추억이 되어있어요. 

<마지막 순위> 
하지만 시간이 지나가면 행복이 살짝 사라졌는데요. 학교마다 졸업할수 있게 되도록 필수 과목이 있거든요. 이대의 경우는 그런 과목들이 대부분 과학이에요. 
내 생각에 가장 어려운 과목은 “Introduction to IT” 였어요. 
이 수업에 들어가면 컴퓨터코딩이나 기초 전자기술 만드는 법을 배워야 했어요. 수업 내용 때문에 힘든 것뿐만 아니라 쉬는 시간이나 주말에도 과제를 해 야 돼서 너무 무리했습니다. 
거의 매일 방에 늦게 와서 홍콩 룸메이트 언니는 ‘불쌍하다’고 했어요. 

더 심각한 것은 내가 수업이 이해가 하나도 안 되었어요. 
중간시험 성적도 가장 낮은 순위까지 갔는데 결국에 F를 받을지도 몰랐으니까 긴장이 되어서 열심히 기말 프로젝트를 했어요.
교수님은 이 과목은 필수 과목이고 수업 듣기 전에 기초부터 하나도 안 배웠던 학생도 있다는 사실을 알고 계시고 타당한 기준으로 평가해 주셔서 내가 괜찮은 등급을 받았어요. 완전 다행이었어요. 

<성공했던 일> 
사실 나는 한국인 학생처럼 정규 수업 외이 활동이나 경험을 못 하는 것을 고민했는데 생각보다 좋은 기회가 많던데요. 
나는 기초 전공 과목을 배운 후에 4째 학기부터 더 구체적인 과목을 배워야 하게 되었어요. 그리고 전의 트랙 (전문 분야)를 선택해야 했는데 어떤 진로에 가면 좋을지 아직 몰랐어요. 이대의 커미부에세는 저널리즘, 광고 PR 전략커뮤니케이션, 디지털· 영상미디어, 미디어 경영·법제, 융합미디어 그리고 미디어 공학. 창업 트랙 6개나 있는데요. 
하지만 나는 ‘광고와 소비자 리’ 라는 수업에 들어간 후에 ‘나’를 찾았어요. 
이 수업에는 교수님이 학교의 대표자로서 광고 공모전에 참여한 기회가 제공하셨 어요. 같은 반 친구 중에 우리 팀이 가장 잘 했으니까 교수님이 우리 팀을 뽑으셨어요. 다음 학기에도 비슷한 기회를 받았거든 요. 드디어 자기 재능을 찾을 수 있으니까 자신감이 있게 ‘광고 PR 전략커뮤니케이션’트랙을 선택했어요. 

<3개 전공으로 졸업> 
사실 도 고등학교때 대학교 전공 선택하기 힘들었어요. 왜나하면 커뮤니케이션-미디어뿐만 아니라 심리학과도 하고 싶고 패션에 대해도 배우고 싶었거든요.
그런데 모두 다 4년 동안 한 번에 배우고 졸업은 무리하고 아마도 불가능하죠? 하지만 나는 할 수 있었는데요. 시간을 잘 나누면 불가능은 없다고 믿거든요. 가능성이 많더라고요. 2개 전공으로 복수하여 졸업 해 도 되고 아니면 1개 주전공과 1개 부전공을 취득하여 졸업해도 될 거예요. 
나의 경우에는 커뮤니케이션-미디어는 하나로 주 전공이고 심리학과 및 의류산업이 2개 부전공이에요. 
2학년부터 커미부 과목을 충분히 배운 후에 심리학과의 과목을 신청하는 게 시작되었어요. 
그리고 마지막 학년에 시간 낭비하지 않게 의류산업 전공 과목을 배웠어요. 결국에 생각처럼 배우고 싶은 것을 다 배웠고 무리하지 않게 졸업했어요. 

<여러분들에게 하고 싶은 말> 
미리 긴장하지 않으면 좋겠어요. 
대학교 입학하는데 중요해서 준비 좀 해야 되지만 기획하는 것은 긴장하는게 아니잖아요. 
나는 아무 걱정이 없이 한국으로 와서 ‘아무래도 끝까지 해야겠다, 무조건 졸업해야겠다’는 생각만 했는데요. 
어려움을 겪었을 때는 그냥 이겨야겠다는 생각만 있었거든요. 여러분이 한국에 꼭 유학하고 싶으면 결정을 했으면 그냥 실제로 도전해 봐요. 
나는 대한민국이 외국인 학생들에게 친절하다고 생각해요. 
게다가 생각보다 좋은 기회가 많은데요. 

나는 맨 처음에 빈 손으로 한국에 왔지만 유학생활을 하면서 내 손에 의미있는 경험과 좋은 추억으로 가득하게 되었네요. 

나는 여러분의 꿈을 응원할게요. 파이팅!